กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค้นหาและคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วง

1. นางกุหลาบ สิงห์วงษ์

ตำบลคำด้วงจำนวน 6 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศทั้งนี้สืบเนื่องจากระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมเศรษฐกิจการเมืองการพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่าง ๆซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่และภาวะสุขภาพของประชาชนทำให้ประชาชนมีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากขึ้น จากปัจจัยต่าง ๆการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะขาดการออกกำลังกายการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ดื่มชากาแฟความเครียดเป็นต้น
ผลการสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบ6 หมู่บ้านจำนวน1,152ครัวเรือน ที่มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานของความดันโลหิตสูง 40 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ3.47ประชากรทั้งหมด4,594คนมีกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ35 - 60 ปี จำนวน1,472 คนคิดเป็นร้อยละ32.04 ของประชากร ทั้งหมดซึ่งเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 399คิดเป็นร้อยละ 27.11

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่
2. เพื่อศึกษาสถานการณ์แนวโน้มการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชน
3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ มีความตระหนักและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
4. เพื่อวางแผนดำเนินการป้องกันและแก้ไขโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการค้นหาและคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
โครงการค้นหาและคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินการ 1. สำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ  โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ 2. จัดทำแผนและตารางการออกให้บริการในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน  หมู่บ้านละ 1 ครั้ง/ปี 3. ประชาชนสัมพันธ์โครงการผ่านทางประชุมในหมู่บ้าน  อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่และประกาศทางหอกระจายข่าว 4. ออกดำเนินการตรวจคัดกรองความเสี่ยงและค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามหมู่บ้าน  โดยการ  ชั่งน้ำหนัก  วัดรอบเอว  วัดส่วนสูง  วัดความดันโลหิต  เจาะน้ำตาลในเลือด  ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป 5. ให้สุขศึกษากับประชาชนกลุ่มเสี่ยง  พร้อมให้บริการตรวจคัดกรอง 6. ลงทะเบียนผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะความดันโลหิต / น้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ปกติ 7. เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 80
  2. ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงในชุมชนที่ได้จากการคัดกรองได้รับการนัดหมายเพื่อตรวจซ้ำหรือได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาต่อเนื่อง ร้อยละ 10
  3. ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนมีทักษาในการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนและสามารถส่งต่อเพื่อคัดกรองได้ร้อยละ 80
  4. ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความตระหนักในความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเองและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อก้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11680.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,680.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 80
2. ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงในชุมชนที่ได้จากการคัดกรองได้รับการนัดหมายเพื่อตรวจซ้ำหรือได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาต่อเนื่อง ร้อยละ 10
3. ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนมีทักษาในการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนและสามารถส่งต่อเพื่อคัดกรองได้ร้อยละ 80
4. ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความตระหนักในความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเองและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อก้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง


>