กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วง

1. นางกุหลาบ สิงห์วงษ์

ตำบลคำด้วงจำนวน 6 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่ไม่ติดต่อที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายสาเหตุของการเกิดโรคส่วนหนึ่งมาจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ุ และอีกส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมด้านสุขภาพไม่ถูกต้องจากสถิติข้อมูลพบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทยรองลงมาคือมะเร็งเต้านมซึ่งทั้งสองพบมากในสตรีช่วงอายุ30 - 60 ปี ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้น สามารถทำการรักษามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะแรกให้หายขาดได้รัฐบาลจึงมีนโยบายให้ทุกสถานบริการสาธารณสุขดำเนินการตรวจมะเร็งเต้านมเบื้องต้นโดยการคลำเต้านมและตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยอายุ 30 - 60 ปีทุกคนจากผลการดำเนินงานรพ.สต.คำด้วงปีงบประมาณ2557 - 2560ได้ดำเนินการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกโดยการตรวจPapsmearพบความผิดปกติดังนี้
ปีงบประมาณ2557พบเซลล์ผิดปกติ จำนวน3 คน
ปีงบประมาณ2558พบเซลล์ผิดปกติ จำนวน1 คน
ปีงบประมาณ2559พบเซลล์ผิดปกติ จำนวน2 คน
ปีงบประมาณ2560พบเซลล์ผิดปกติ จำนวน0 คน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วงได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรค ดังกล่าวหากบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการตรวจPapsmearและไม่ได้ส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเซลล์จะพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งในโอกาสต่อไปและหากไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ อาจส่งผลให้ยากต่อการรักษาให้หายขาดได้หรืออาจรักษาไม่ได้ผลเลย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมให้สตรีกลุ่ม อายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ 90
2. เพื่อให้สตรีที่ตรวจมะเร็งเต้านมพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างต่อเนื่องทุกราย
3. เพื่อส่งเสริมให้สตรีกลุ่มอายุ 30 - 60 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ80
4. สตรีที่มีผลการตรวจเซลล์ผิดปกติได้รับการส่งต่อตรวจและวินิจฉัยโดยสูตินรีแพทย์ทุกราย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 925
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน 1. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรอง 2. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมไว้ที่สถานบริการ 3. จัดให้ความรู้กลุ่มสตรีเรื่องโรคมะเร็งต่าง ๆ  การปฏิบัติตัวการตรวจค้นหาความผิดปกติที่เป็นสัญญาว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็ง 4. ให้ความรู้ในเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 5. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย  หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน  เพื่อขอความร่วมมือและสร้างกระแสในการสร้างสุขภาพ 6. ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูก  (Pap  smear)  ในกลุ่มสตรีอายุ  30 -60 ปี  จำนวน  631  คน  และตรวจมะเร็งเต้านม  ในกลุ่มสตรีอายุ  30 ปีขึ้นไป  จำนวน  925  คน  ที่สถานบริการพร้อมจับสลากแจกวัสดุในการสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้ที่มารับบริการ 7. ในกรณีตรวจเต้านมผิดปกติหรือสงสัย  ให้ตรวจกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขซ้ำอีกครั้ง 8. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจยืนยัน  ถ้าสงสัยส่งพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย  และรักษาที่ถูกต้องต่อไป 9. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ติดตามเยี่ยมกลุ่มที่ผิดปกติที่บ้าน 10. สรุปผลการประเมินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

        สตรีกลุ่มอายุ  30 ปีขึ้นไป  สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง  สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่สตรีในหมู่บ้านให้มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม  สตรีที่ตรวจเต้านมพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและตรวจโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  สตรีกลุ่มอายุ  30 - 60 ปี  ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  สตรีที่มีผลตรวจเซลล์ผิดปกติ  ได้รับการส่งต่อและวินิจฉัยโดยสูติแพทย์ทุกราย  สตรีที่ส่งต่อได้รับการติดตามการตรวจ  การรักษา  การวินิจฉัยและการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สตรีกลุ่มอายุ30 ปีขึ้นไปสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่สตรีในหมู่บ้านให้มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมสตรีที่ตรวจเต้านมพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและตรวจโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสตรีกลุ่ม 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีที่มีผลตรวจเซลล์ผิดปกติได้รับการส่งต่อและวินิจฉัยโดยสูติแพทย์ทุกรายสตรีที่ส่งต่อ ได้รับการติดตามการตรวจการรักษาการวินิจฉัยและการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง


>