กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบล พังลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการสมวัยสำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

องค์การบริหารส่วนตำบล พังลา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.พังลา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.พังลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัย ในศพด. ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน น้ำหนักน้อย ขาดสารอาหาร

 

10.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

20.00

จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-6 ปี) จะพบว่าเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพังลาในช่วงไตรมาสที่ผ่านมามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 2 คน จากเด็กทั้งหมด 62 คน คิดเป็นร้อยละ 3.23 น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ 7 คน คิดเป็นร้อยละ11.29 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพังลาได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการสมวัยสำหรับเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพังลาขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และ ทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไข

ร้อยละของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และ ทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไข 

5.00
2 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

20.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 65
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพังลา ทุก 3 เดือน
2. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงลงในสมุดทะเบียนเด็กนักเรียน พร้อมแจ้ง พ่อ แม่ ผู้ปกครองทราบ 3. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน หรือเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
4. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง / ครู - ให้ความรู้การลด เค็ม มัน หวาน แก่ผู้ปกครอง /ครู - ความสำคัญของอาหารและอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย การส่งเสริมให้เด็กบริโภคผัก ผลไม้ อาหารที่มีประโยชน์
- กิจกรรมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของผัก ผลไม้ โดยการจัดบอร์ดให้ความรู้
- กิจกรรมให้ความรู้เรื่องผัก ผลไม้ ไปตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
- กิจกรรมส่งเสริมการกินผัก ผลไม้ในปริมาณ 400 กรัม/วัน

งบประมาณ 1.ค่าอาหาร - อาหารว่างจำนวน65 คนๆละ 30 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,900 บาท
- อาหารกลางวันจำนวน65 คนๆละ70 บาทจำนวน 1มื้อ เป็นเงิน 4,550 บาท
2.ค่าวิทยากรจำนวน2คนๆ ละ600บาท จำนวน 6 ชม. เป็นเงิน3,600 บาท 3.ค่าวัสดุอุปกรณ์/คู่มือการอบรมจำนวน65 คนๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน1,950 บาท 4. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท
6. ค่าเช่าเครื่องขยายเสียง เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ทางโภชนาการอาหาร - การลด เค็ม มัน หวาน แก่ผู้ปกครอง /ครู - ได้รับความรู้ ความสำคัญของอาหารและอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย การส่งเสริมให้เด็กบริโภคผัก ผลไม้ อาหารที่มีประโยชน์
- ได้รับความรู้ประโยชน์ของ เรื่องผัก ผลไม้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเด็กอ้วนและผอม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเด็กอ้วนและผอม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.เชิญพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สต. มีเนื้อหาดังนี้
- ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม
- วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนิสัยการกิน - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลังกาย
- วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
- การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก 2. ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย
2.1 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - กรณีเด็กอ้วน ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาที หรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น
- กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติอย่างน้อยวันละ 60 นาที 2.2 ที่บ้าน - กรณีเด็กอ้วนพ่อแม่ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม
- กรณีเด็กผอม พ่อแม่กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมันโปรตีน
3. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง เดือนละ1 ครั้ง จนครบ 3 เดือน และแนะนำให้พ่อแม่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 4. ควบคุมคุณภาพอาหาร และเมนูอาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างจำนวน 10 คนๆละ 30 บาทจำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท (เดือนละ1 ครั้ง จนครบ 3 เดือน ) 2.ค่าวิทยากร จำนวน1 คนๆ ละ600บาท จำนวน 1 ชม. เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม ได้รับการแก้ไข และจำนวนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมบ้านเด็ก ดูพัฒนาการของเด็ก ดูพฤติกรรมการกินของเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลพื้นฐานของเด็ก เพื่อที่จะนำมาแก้ไขปัญหาภาวะเด็กอ้วน ผอม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1เด็กนักเรียนในศพด.มีภาวะโภชนาการปกติ
2เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม มีจำนวนที่น้อยลง
3 ผู้ปกครองได้ความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อพัฒนาโภชนาการของเด็กได้


>