กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาในชุมชน ปีงบประมาณ2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

8 หมู่บ้านตำบลนาทับ(หมู่1,2,6,8,10,12,13,14)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่นโรคมะเร็งทุกชนิด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตันเป็นต้นซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารเคมีปนเปื้อน(บอแรกซ์ สารเร่งเนื้อแดง ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันบูดและยาฆ่าแมลงในผักผลไม้) อาหารที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา อาหารสุกๆดิบๆ เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับมีพื้นที่รับผิดชอบ 8 หมู่บ้านมีประชากร 7,230 คน จำนวนหลังคาเรือน 1,761 หลัง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง เกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นต้น ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวแต่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกันวิถีชีวิตชุมชนโดยส่วนใหญ่ซื้ออาหารถุง อาหารปรุงสุกที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปในพื้นที่เนื่องจากไม่มีเวลาทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้ จากการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในพื้นที่พบว่ายังป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารเช่นโรคอุจจาระร่วง โรคบิด ไข้ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษเป็นต้นซึ่งโรคส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวและอีกปัญหาหนึ่งที่ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจคือการใช้ยายังมีความนิยมในการซื้อยาที่พ่อค้าเร่โฆษณาสรรพคุณ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลายๆมาตรการทุกรูปแบบในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาในชุมชน ปีงบประมาณ2561 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้อยละ 80
2.เพื่อพัฒนาร้านอาหาร แผงลอย จำหน่ายอาหาร ก๋วยเตี๋ยวตามมาตรสุขาภิบาลร้อยละ 100

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.สำรวจข้อมูล แผงลอย ร้านอาหารในตลาด หมู่บ้าน ที่เปิดกิจการใหม่ ปิดกิจการ 2.จัดทำโครงการเสนอพิจารณา 3.จัดทำแผนออกติดตามตรวจสอบและพัฒนาร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยและร้านก๋วยเตี๋ยว4.ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารยาและผลิตภัณพ์สุขภาพทั้งใน แกนนำงานคุ้มค

ชื่อกิจกรรม
1.สำรวจข้อมูล แผงลอย ร้านอาหารในตลาด หมู่บ้าน ที่เปิดกิจการใหม่ ปิดกิจการ 2.จัดทำโครงการเสนอพิจารณา 3.จัดทำแผนออกติดตามตรวจสอบและพัฒนาร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยและร้านก๋วยเตี๋ยว4.ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารยาและผลิตภัณพ์สุขภาพทั้งใน แกนนำงานคุ้มค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมกรรมการคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค งบประมาณ 7,700  บาท 2.อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ  งบประมาณ  17,200 บาท 3.อบรมผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร แผงลอย  งบประมาณ  5,200  บาท 4.อบรมแกนนำนักเรียนคุ้มครองผู้บริโภค  งบประมาณ  11,200  บาท 5.ตรวจสารปนเปื้อนในร้านอาหาร แผงลอย  งบประมาณ  54,00  บาท 5.ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการ  งบประมาณ 2,000  บาท 6.สรุปผลงานโครงการ  งบประมาณ 3,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพร้อยละ80 2.ร้านอาหาร แผงลอยได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารร้อยละ100 3.แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยปลอดโรคร้อยละ70 4.แกนนำนักเรียนมีความรู้ความใจเกี่ยวกับการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและการตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนและกลุ่มนักเรียนมีความรู้ในการเลือกอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องปลอดภัยต่อสุขภาพ
2.ร้านอาหาร แผงลอยได้รับการพัฒนาได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร


>