กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารสะอาด ใส่ใจสุขภาพ ตามหลักสุขาภิบาล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสุขาภิบาลอาหารมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการอาหารให้เกิดความสะอาด ความปลอดภัย และมีความน่าบริโภค ด้วยการปรุง บำรุงรักษา และแก้ไขให้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการดำเนินการจัดการอาหารในทุกขั้นตอน การเตรียมและการปรุงอาหารและอาหารปรุงสำเร็จก่อนบริโภค เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร
การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุนควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดตามหลักสุขาภิบาล มีคุณค่าอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย
จึงได้จัดทำโครงการอาหารสะอาด ใส่ใจสุขภาพ ตามหลักสุขาภิบาลขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารและเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดตามหลักสุขาภิบาล ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร

ข้อที่ 2. ผู้ประกอบร้านอาหาร แผงลอย และประชาชนสามารถพัฒนาร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

- ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 80

-ร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 70

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอาหารสะอาด ใส่ใจสุขภาพ ตามหลักสุขาภิบาล

ชื่อกิจกรรม
โครงการอาหารสะอาด ใส่ใจสุขภาพ ตามหลักสุขาภิบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรม 1.1 กิจกรรมย่อยให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และประชาชนทั่วไป ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร
2. ผู้ประกอบร้านอาหาร แผงลอย และประชาชน สามารถพัฒนาร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร


>