กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชีทวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสานพลังครอบครัวลด ละ เลิกบุหรี่สู่ชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชีทวน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชีทวน

ม.1 -ม.9 ต.ชีทวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่

 

16.00
2 ร้อยละของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

 

38.00
3 ค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่เฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูบบุหรี่รายคน(บาท)

 

800.00
4 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (ร้าน)

 

2.00

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง พบได้ทุกสังคมตั้งแต่ว้ยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากวัยรุ่น โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมการเสพติดบุหรี่เป็นนิสัยต่อไปในวัยผู้ใหญ่ การงดสูบบุหรี่ช่วยให้อัตราเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยของผู้สูบบุหรี่และคนในครอบครัวและผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ สาเหตุความเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่ โดยในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ที่เป็นเด็กจะยิ่่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำ โรงพยาบาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชีทวน มีความตระหนักถึงความสำคัญของประชากรกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสานพลังครอบครัว ลด ละ เลิกบุหรี่สู่ชุมชนสดใส ขึน เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และป้องกันนักสูบหน้าใหม่ที่จะเพิ่มขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

3.00
2 เพื่อเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ

อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือนโดยไม่กลับไปสูบซ้ำเพิ่มขึ้นเป็น(ร้อยละ)

20.00
3 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่เฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูบบุหรี่รายคน

ค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่เฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูบบุหรี่รายคน ลดลงเหลือ(บาท)

800.00 400.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การลด ละ เลิก การสูบบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การลด ละ เลิก การสูบบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดกิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการละ ละ เลิกการสูบบุหรี่ ในเยาวชน นักเรียน และผู้นำชุมชน
  2. จัดให้ความรู้โทษภัยของบุหรี่ และวิธีการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ 3.อสม.และผู้นำชุมชน เยาวชน ร่วมกันชม เชียร์ให้กำลังใจผู้ ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ 4.สรุปผล เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบที่เลิกสูบบุหรี่
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความตระหนักโทษของบุหรี่
มีนักสูบหน้าใหม่ลดลง มีผู้ลด ละ เลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าอาหาร 1 มื้อ จำนวน 60 บาทอาหารว่างผู้เข้าประชุม2 มื้อๆ ละะ 20 บาท จำนวน 100 คนเป็นเงิน 10,000 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เยาวชนมีความรู้โทษภัยจากการสูบบุหรี่ไม่เป็นนักสูบหน้าใหม่
- เกิดภาคีผู้นำชุมชน อสม. รพสต. เสริมพลังชวนคนละ ละ เลิกการสูบบุหรี่


>