กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกเหล้าในวันพระ บ้านคู ตำบลยาบี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 5

1.นางจันทิยา พัทบุรี
2.นางสายใหม จินดารัตน์
3.นางสาวอัญญาณี แก้วน้อย
4.นางอรพิน ยี่เซ่ง
5.นางฐาปนี ต่างสี

วัดยานิการาม หมู่ที่ 5 ตำบลยาบี อำหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

 

70.00

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและการเกษตร พบว่า คนไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่ากับ 13.59 ลิตรต่อคนต่อปี จัดเป็นอันดับ 5 ของโลกและมีการใช้เงินประมาณ 2 แสนล้านบาทเพื่อซื้อแอลกอฮอล์มาดื่มกิน ซึ่งพฤติกรรมการดื่มดังกล่าวส่งผลกระทบก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านสุขภาพ อุบัติเหตุจราจร คดีอาญา และด้านเศรษฐกิจครอบครัวและชุมชน การบังคับใช้ พระราชบัญญัติ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างเข้มงวดซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะลดอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากผลการสำรวจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า พบว่า คนไทยนิยมดื่มเหล้าในช่วงเวลางานประเพณี หรือเทศกาลต่าง ๆ เช่น ทอดกฐิน งานบวช งานศพ งานประจำปีต่าง ๆ มากถึงกว่า 40% อันส่งผลให้เกิดโศกนาฏกรรมจากอุบัติเหตุตามมาอยู่เสมอ
ตำบลยาบี ประกอบด้วย จำนวน 6 หมู่บ้าน มี 5 หมู่บ้านที่ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 100 % และอีกมี 1 หมู่บ้านที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 99 % นั้นคือหมู่ที่ 5 บ้านคู โดยมีประชากรทั้งหมด 434 คน เป็นชาย 206 คน, เป็นหญิง 228 คน และจากการสำรวจข้อมูลของ อสม.พบว่าประชากรที่ดื่มสุราและของมึนเมา จำนวน 205 คน คิดเป็นร้อยละ 47.24 ในจำนวนนี้มีคนติดเหล้า จำนวน 4 คน นักดื่มรายใหม่ จำนวน 2 คน นักดื่มที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี จำนวน 6 คน และที่เหลือจำนวน 193 คน เป็นนักดื่มเหล้าตามงานประเพณีหรือเทศกาลต่าง ๆ
สำหรับข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดื่มเหล้า พบว่าเกิดอุบัติเหตุ จำนวน 1 คน ต้องเข้ารับการผ่าตัดสมอง การทะเลาะวิวาท จำนวน 5 ครั้ง แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ มีผู้ประสงค์ต้องการเลิกเหล้าอย่างเด็ดขาด จำนวน 2 คน และพยายามที่จะเลิก จำนวน 40 คน ที่เหลืออีก 163 คน ยังไม่มีความที่จะเลิกเหล้า
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าแนวโน้มที่นักดื่มเหล้าที่จะลดลงยังคงมีแนวโน้มที่น้อยมาก หากไม่มีการรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง นอกจากจำนวนนักดื่มไม่ลดลงแล้วอาจจะมีนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างกระแส การรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้าในบ้านคู ตำบลยาบี ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนัก มีความตั้งใจที่จะลด ละ เลิกเหล้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 5 จึงจะดำเนินโครงการลด ละ เลิกเหล้าในวันพระ บ้านคู ตำบลยาบี ขึ้นเพื่อลดการดื่มเหล้าของประชากรในหมู่บ้าน โดยอาศัยในช่วงวันพระของแต่ละเดือนในการร่วมกันรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้า ร่วมกันต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)

70.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 5
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/06/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 45 คน × 50 บาท × 1 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท
    1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 45 คน × 25 บาท × 2 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท
    2. ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 × 3.0 เมตร × 1 ป้าย เป็นเงิน 900 บาท
    3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน × 600 บาท × 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมแกนนำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมแกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 10 คน × 50 บาท × 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท
  2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน × 25 บาท × 2 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท
  3. ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 × 3.0 เมตร × 1 ป้าย เป็นเงิน 900 บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน × 600 บาท × 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์และตรวจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์และตรวจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 45 คน × 25 บาท × 3 ครั้ง 
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3375.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบุคคลต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมบุคคลต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำกรอบพร้อมประกาศนียบัตรบุคคลต้นแบบ จำนวน 10 อัน × 250 บาท
    เป็นเงิน 2,500 บาท
  2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 45 คน × 25 บาท × 1 มื้อ เป็นเงิน 450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,825.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ) 50 จากเดิมร้อยละ 70


>