กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคมือ เท้า ปาก ในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครยะลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคมือ เท้า ปาก ในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

ในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้ปกครองไม่มีเวลาที่เลี้ยงดูบุตรหลานด้วยตนเองจึงนำบุตรหลานไปฝากเลี้ยงที่ศูนย์เด็กเล็ก (Nursery) เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนดังนั้น ศูนย์เด็กเล็กจึงเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากเมื่อเจ็บป่วยจะแพร่เชื้อโรคสู่เด็กอื่นได้ง่ายเนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันต่ำจึงมีโอกาสป่วยได้บ่อยโดยเฉพาะโรคติดต่อที่สำคัญและพบบ่อยคือโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงทำให้เกิดการพิการและเสียชีวิตได้เช่นโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบสมองอักเสบอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนแรงหากเกิดการของโรคนี้อาจต้องปิดโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็กซึ่งส่งผลให้ผู้ปกครองต้องหยุดงานเพื่อดูแลเด็กที่บ้านทำให้ขาดรายได้และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
จากรายงานเฝ้าระวังโรค มือเท้าปากของสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขข้อมูลทั้งประเทศปี พ.ศ.2558พบผู้ป่วยจำนวน41,392รายคิดเป็นอัตราป่วย63.56 ต่อแสนประชากร พบผู้เสียชีวิตจำนวน 3 รายและในจังหวัดยะลา พบผู้ป่วยจำนวน118รายคิดเป็นอัตราป่วย23.05ต่อแสนประชากรและในปี พ.ศ.2559พบผู้ป่วยจำนวน79,910รายคิดเป็นอัตราป่วย122.14 ต่อแสนประชากรมีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 รายตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 – 14 พ.ย. 60พบผู้ป่วยจำนวน65,400รายคิดเป็นอัตราป่วย99.96 ต่อแสนประชากรและมีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 รายสำหรับรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลศูนย์ยะลาในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลาปี พ.ศ. 2558พบผู้ป่วยจำนวน42รายคิดเป็นอัตราป่วย88.13ต่อแสนประชากรปี พ.ศ.2559พบผู้ป่วยจำนวน36รายคิดเป็นอัตราป่วย71.93ต่อแสนประชากรตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 – 31 ธ.ค. 2560พบผู้ป่วยจำนวน16รายคิดเป็นอัตราป่วย9.71ต่อแสนประชากรและสถานการณ์ปัจจุบัน ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2561ได้รับรายงานจากกลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลศูนย์ยะลาพบว่า มีการระบาดของผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ในพื้นที่เทศบาลนครยะลา ณ โรงเรียนมานะศึกษา จำนวน 7 ราย
การดำเนินงานป้องกันการเกิดโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนที่มีชั้นอนุบาลซึ่งมีการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่าย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีเด็กอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นและเด็กเล็กเป็นวัยที่ยังขาดทักษะในการป้องกันตนเองจากโรคมือ เท้า ปากเพราะฉะนั้นการให้ความรู้แก่ครูผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นบุคลากรที่สำคัญในการดูแลเด็กและเฝ้าระวังป้องกันโรคมือ เท้า ปากที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียงที่มีชั้นอนุบาลร่วมทั้งการประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคมือ เท้า ปากมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการระบาดของ มือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนที่มีชั้นอนุบาลกลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค จึงได้จัด “โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคมือเท้าปากในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครยะลา” ในครั้งนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในการป้องกันโรคมือเท้าปาก
2. เพื่อประชาสัมพันธ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคมือเท้าปาก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรค มือ เท้า ปาก แก่ครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน ระยะเวลาครึ่งวัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรค มือ เท้า ปาก แก่ครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน ระยะเวลาครึ่งวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ     1 มื้อๆ ละ 30.-บาท         เป็นเงิน          900.-บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงชั่วโมงละ 600.-บาท                                  เป็นเงิน      1,800.- บาท
  3. ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์                                  เป็นเงิน          900.-บาท

  4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องเขียน                                  เป็นเงิน          900.-บาท             รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 4,500.-บาท
                       (เงินสี่พันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู ผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้เพียงพอในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การเฝ้าระวังและการป้องกันโดยการตรวจคัดกรองอาการป่วย และการประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง และโรงเรียนที่มีชั้นอนุบาลในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 16 แห่ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การเฝ้าระวังและการป้องกันโดยการตรวจคัดกรองอาการป่วย และการประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง และโรงเรียนที่มีชั้นอนุบาลในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 16 แห่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์  หรือการแพทย์
                                     เป็นเงิน      20,000.-บาท
  2. ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์
                                     เป็นเงิน      23,700.-บาท
              รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 43,700.-บาท             (เงินสี่หมื่นสามพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่เกิดการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เพิ่มขึ้น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนมีมีชั้นอนุบาล    ในเขตเทศบาลนครยะลา 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43700.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ประชุมครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ประชุมครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ    1 มื้อๆ ละ 25.-บาท         เป็นเงิน          750.-บาท
  2. ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์                                  เป็นเงิน          900.-บาท
  3. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องเขียน                                  เป็นเงิน          900.-บาท             รวมกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 2,550.-บาท
                  (เงินสองพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครู ผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้เพียงพอในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
2. ไม่เกิดการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เพิ่มขึ้น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนมีมีชั้นอนุบาลในเขตเทศบาลนครยะลา


>