กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงเปาว์

โรงพยาบาลส่งเสิมสุขภาพตำบลบ้านตันหยงเปาว์ หมู่ที่ ๔ บ้านตัยหยงเปาว์ ,ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ ๓ บ้านท่ายามู ,โรงเรียนตาดีกา หมู่ที่ ๕ บ้านบางราพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป้นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของประชาชนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และปัญหาโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ชุมชนหรือท้องถิ่นจะเจริญก้าวหน้าด้วยดี ต้องมีการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องในทุกๆด้านเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคมในปุจจุบัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เทคโนโลยี และการดูแลสุขภาพ เป็นต้น การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาอย่างสมำเสมอเป็นกระบวนการหนึ่งทีสามารถช่วยพัฒนาคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะช่วยพัฒนาให้ประชาชนมีสุขภาพร่างการที่แข็งแรงและสมบูรณ์ สุขภาพจิตดี ปราศจากโดรคภัยไข้เจ็บ และส่งผลให้การดำเนินชีวิตอย่างราบรื่นและมีความสุข จากสถานการณ์โรคปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าความครอบคลุมในการจัดบริการยังไม่ครบถ้วนเพียงพอ จงไมาสามารถลดปัญหาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติเต่อได้ เพราะรูปแบบการให้บริกรแบบตั้งรับที่สถานบริการอย่างเดียว มองผู้ป่วยเป็นเพียงผู้มาับบริการขาดความละเอียดออ่อนในมิติรอบด้านทำให้ไม่ทราบที่มาของพฤติกรรมส่วนที่เป็นตัวตน และความนึกคิดของผู้ป่วย การปรับเปลี่ยนพฟติกรรมจึงเป็นไปได้ยากแลเไม่ยั่งยืนหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ระบบบริการน่าจะไม่เพียพอ การพัฒนาระบบบริการส่งเสริมสุขภาพโดยทีมบุคคลากรสาธารณสุขให้บริการเยี่ยมบ้านเพื่อเป็นการเรียนรู้และเข้าใจชีวิตผู้ป่วยแบบองค์รวม จะเข้าใจวิถีชีวิต บริบทชีวิตของผู้ป่วยเป็นการสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ทำให้ทราบทัศนคติเชิงลึกของผู้ป่วยซึ่งโยงถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของผู้ป่วยต่อไป อันเป็นแนวทางอันดีที่จะให้บริการและสนับสนุนวิชาการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยและผู้ป่วยสามารถตัดสินใจเลือกนำไปปฎิบัติปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

0.00
2 2.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยรายเก่า

 

0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละุ 50 บาท จำนวน 50 คน    เป็นเงิน 2,500  บาท -ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 50 คน          เป็นเงิน 2,500  บาท -ค่ายานพาหนะ อสม. จำนวน 50 คนๆละ 50 บาท        เป็นเงิน 2,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร การออกกำลังกายของผู้ป่วยกลุ่มอย่างถูกต้องและสามารถให้คำแนะนำได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจง บรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อและอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง บรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อและอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละุ 50 บาท จำนวน 150 คน                  เป็นเงิน 7,500  บาท
-ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 150 คน                        เป็นเงิน 7,500  บาท
-ค่ายานพาหนะผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 150 คนๆละ 50 บาท        เป็นเงิน 7,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสามารถให้คำแนะนำผู้อื่นได้ และสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนตระหหนักและใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2.อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงลดลง
3.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงลดลง
4.ลดอัตราการสูญเสียทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการรักษาพยาบาลโดยตรงและค่รใช้จ่ายทางอ้อมที่ผู้ป่วยต้องหยุดงานและมีขีดความสามารถลดลงหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
5.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถเป็นแบบอย่างและให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาและประชาชนในชุมชนได้


>