กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในชุมชนบ้านห้วยม้าโก้ง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในชุมชนบ้านห้วยม้าโก้ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าสัก

อสม.ม.8

บ้านห้วยม้าโก้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือ ชื่อภาษาไทยเรียกว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นั้นเป็นชื่อเรียก กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากพฤติกรรมเสี่ยงอย่าง เหล้า บุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อาหารหวาน มันเค็มจัด และมีความเครียด องค์การอนามัยโลก(WHO) เล็งเห็นว่ากลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจาก สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง ๖๓% ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญกว่านั้นคือ กว่า ๘๐% เป็น ประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุดพบว่ามีถึง ๑๔ ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญยังถือเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของประชากรทั้งประเทศ อีกทั้งสถิติการ เสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ย ของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้น เรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งโรคในกลุ่ม โรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด ๖ โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง
จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ปัญหาที่พบ คือผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น ส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาพยาบาลตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ส่งผลทำให้การลุกลามของโรคต่างๆมากขึ้น จนยากแก่การรักษาทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาลสูงขึ้น ดังนั้นทางกลุ่ม อสม. บ้านห้วยม้าโก้ง หมู่ที่ ๘ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาสุขภาพเบื้องต้นได้จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑.เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและป้องกันโรคเรื้อรังแก่แกนนำด้านสุขภาพและ ผู้สูงอายุ
๒.เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/03/2018

กำหนดเสร็จ 31/07/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างวันประชุมคณะทำงาน จำนวน ๑ ครั้งๆละ ๑๓ คนๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๓๒๕ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้โครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
325.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมและป้องกันโรคเรื้อรังแก่กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน ๑ วัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมและป้องกันโรคเรื้อรังแก่กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน ๑ วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าอาหารและอาหารว่างในวันอบรม จำนวน ๔๐ คนๆละ ๑๓๐ บาท เป็นเงิน ๕,๒๐๐ บาท ๒.ค่าป้ายชื่อโครงการ ขนาด ๑×๓ เมตร จำนวน ๑ ผืน  เป็นเงิน ๕๐๐  บาท ๓.ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน ๓ ชั่วโมงๆละ ๔๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท
๔.ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน ๔๐ ชุดๆละ ๑๐ บาท เป็นเงิน ๔๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการส่งเสริมและป้องกันโรคเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าอาหารว่างวันประชุมคณะทำงาน จำนวน ๑ ครั้งๆละ ๑๓ คนๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๓๒๕ บาท ๒.ค่าสรุปรูปเล่มรายงาน จำนวน ๒ เล่มๆละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๓๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานสรุปรูปเล่มเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและป้องกันโรคเรื้อรัง
๒.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลง


>