กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลป่าสัก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าสัก

คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลป่าสัก

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลเกาะคา ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากกาง อ.ลอง จ.แพร่ ,กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่เทศบาลตำบลป่าสัก ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดตั้งระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตาม ความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ในการนี้ ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลป่าสัก ได้เห็นชอบให้มีการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตรงตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ รวมทั้งเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนแก่คณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจ ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตรงตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ
๒ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/11/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลป่าสัก เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลป่าสัก เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลป่าสัก เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แหล่งศึกษาดูงานที่เป็นกองทุนสุขภาพตำบลที่ประสบความสำเร็จ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินกิจกรรมศึกษาดูงาน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินกิจกรรมศึกษาดูงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑ ค่าเบี้ยเลี้ยงคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน ๒๕ คนๆละ ๔๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ๒ ค่าที่พัก จำนวน ๑ คืน จำนวน ๒๕ คนๆละ ๘๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ๓ ค่าป้ายไวนิล จำนวน ๑ ผืน เป็นเงิน ๕๐๐ บาท ๔ ค่าของที่ระลึก จำนวน ๓ แห่งๆละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท ๕ ค่าจ้างเหมารถตู้ปรับอากาศ ขนาด ๑๐ ที่นั่ง พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน ๓ คันๆละ ๖,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๙,๕๐๐ บาท ๖ ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๓ แห่งๆละ ๒ ชั่วโมงๆละ ๔๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ดำเนินกิจกรรมศึกษาดูงานตามลำดับดังต่อไปนี้ ๑ เข้าศึกษาดูงาน พร้อมฟังบรรยาย เรื่อง การบริหารจัดการกองทุน ณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลเกาะคา  ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง ๒ เข้าศึกษาดูงาน พร้อมฟังบรรยาย เรื่อง การดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากกาง  อ.ลอง จ.แพร่ ๓ เข้าศึกษาดูงาน พร้อมฟังบรรยาย เรื่อง ตำบลสุขภาวะ ด้านอาหารปลอดภัย ณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55400.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการประเมินผลโครงการจากแบบสอบถามความพึงพอใจและข้อเสนอแนะ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการประเมินผลโครงการจากแบบสอบถามความพึงพอใจและข้อเสนอแนะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการประเมินผลโครงการจากแบบสอบถามความพึงพอใจและข้อเสนอแนะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับทราบระดับความพึงพอใจและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑ คณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตรงตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ
๒ คณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่


>