กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุณแม่คุณภาพ ลูกน้อยฉลาด อารมณ์ดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคม และสติปัญญาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาชุมชนและสังคมให้สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม ที่ผ่านมา ในในปีงบประมาณ 2560มีหญิงหลังคลอดจำนวน 103 ราย ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า2,500กรัมจำนวน7รายคิดเป็นร้อยละ6.80ซึ่งลดลงจากปีงบประมาณ 2559 มีหญิงหลังคลอดจำนวน 105 ราย ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า2,500กรัมจำนวน10รายคิดเป็นร้อยละ9.52 ซึ่งเกณฑ์ต้องไม่เกินร้อยละ7สาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดามีน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการขอเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ของงานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการคุณแม่คุณภาพ ลูกน้อยฉลาด อารมณ์ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเอง
หลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งก่อนคลอดตามเกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
4.เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับหญิงตั้งครรภ์และและอาสาสมัครดูแลหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลัง คลอดในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 130
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุมเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุมเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุมเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้โครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ หญิงตั้งครรภ์/สามี/ครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ หญิงตั้งครรภ์/สามี/ครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารและอาหารว่าง สำหรับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์/สามี /ครอบครัว จำนวน 30 คนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 18หมู่บ้านๆละ 2 คน จำนวน 36คนรวมทั้งหมดจำนวน 66 คนๆ ละ 100 บาท              เป็นเงิน  6,600 บาท
  2. ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน    500 บาท
  3. ค่าทีมวิทยากร 3 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน  2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์/สามี/ครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขในเรื่องการดูแลสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 3 ออกติดตามเยี่ยม / ให้ความรู้หญิงหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
ออกติดตามเยี่ยม / ให้ความรู้หญิงหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอุปกรณ์สาธิตการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำนวน 100 ชุดๆละ 75 บาท    เป็นเงิน  7,500 บาท

*อุปกรณ์สาธิตการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  ประกอบด้วย -ถุงเก็บน้ำนมจำนวน 10 ถุง      เป็นเงิน  20  บาท -ถุงผ้า                เป็นเงิน   25  บาท -ปลอกนิ้วทำความสะอาดช่องปากเด็กทารก (2ชิ้น) เป็นเงิน 10 บาท -คู่มือความรู้คุณแม่แม่ใหม่ เล่มละ 20 บาท  เป็นเงิน   20 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงหลังคลอดในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และมอบชุดของขวัญเยี่ยมหลังคลอดร่วมกับอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำรูปเล่มสรุปผลงานโครงการจำนวน 2 เล่ม เล่มละ 250 บาท  เป็นเงิน     500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนนิงานโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มหญิงตั้งครรภ์/สามี /ครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและหญิงคลอด มีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตนในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


>