กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในเด็กชั้นประถมศึกษา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

โรงเรียนเทศบาล 1 และโรงเรียนเทศบาล 2 ในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาฟันผุในเด็กประถมศึกษาเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ แม้ว่าสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย จะมีนโยบายที่มุ่งหวังให้เด็กประถมศึกษามีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีการพัฒนางานส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพอย่างจริงจังแล้วก็ตาม ปัญหาทันตสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษา มีปัญหาโรคฟันผุและเหงือกอักเสบจากข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนเทศบาล 1- 6 และโรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ ของงานทันตสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตที่ได้รับมอบหมาย โรงเรียนเทศบาล 1 พบฟันผุมากที่สุด ร้อยละ 52.31โรงเรียนเทศบาล 2 พบฟันผุร้อยละ 48.95 โรงเรียนเทศบาล 6 พบฟันผุ ร้อยละ 46.45โรงเรียนเทศบาล 3 ฟันผุ ร้อยละ 39.75 โรงเรียนเทศบาล 5 ฟันผุร้อยละ 39.73 โรงเรียนเทศบาล 4 พบฟันผุร้อยละ 38.87 และนักเรียนโรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ พบฟันผุเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 21.68 ตามลำดับซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูงเกินตัวชี้วัดฟันผุ ถือเป็นปัญหาทางทันตสุขภาพ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เด็กนักเรียนไม่มีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและก่อนนอน อีกทั้งเด็กยังขาดความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและประโยชน์ของการแปรงฟัน ดังนั้น ผู้จัดทำโครงการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้คัดเลือกโรงเรียนที่มีปัญหาฟันผุมากที่สุด 2 อันดับแรก คือโรงเรียนเทศบาล 1 และโรงเรียนเทศบาล 2เป็นโรงเรียนนำร่องในการดูแลสุขภาพช่องปาก การดูแลระบบแปรงฟันและมีการพัฒนาทักษะนักเรียนให้มีความรู้ทันตสุขศึกษาและแปรงฟันได้ถูกวิธี เนื่องจากการได้รับรักษาจากทันตบุคลากรทางเดียวไม่สามารถทำให้สภาวะฟันผุลดลงได้ ถ้าไม่ได้รับการส่งเสริม ป้องกันและการดูแลสุขภาพจากตนเองได้ถูกต้องเสียก่อน อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น การแปรงฟันไม่ถูกวิธี ขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองบางส่วน ขาดอุปกรณ์และสถานที่แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน เป็นต้น
ในการดำเนินงานโรงเรียนทันตสุขศึกษา เป็นการดำเนินงานภายใต้บริบทของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ โรงเรียน บ้าน ทันตบุคลากรของรัฐในการร่วมกันคิด วิเคราะห์ปัญหาทันตสุขภาพซึ่งทำให้การดำเนินงานด้านทันตสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาในช่องปากเกิดขึ้นในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สามารถครอบคลุมได้ทั้ง นักเรียน ครูผู้ปกครองและอาจรวมถึงชุมชนได้ด้วย
งานทันตกรรม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลาจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาขึ้น เพื่อพัฒนางานทันตสุขภาพในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยมุ่งเน้นให้เกิดกิจกรรมของการดูแลสุขภาพช่องปากและเป็นกิจกรรมที่ยั่งยืนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ในด้านทันตสุขภาพอย่างถูกต้อง
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับดี
80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนสามารถแปรงฟันได้สะอาด
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนสามารถแปรงฟันได้สะอาดอยู่ในระดับดี (Good oral Hygiene) วัดจากดัชนีชี้วัดคราบจุลินทรีย์(Plaque Index)
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 477
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 30/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสอนแปรงฟันโดยการย้อมคราบจุลินทรีย์ ครึ่งวันบ่าย 12 รุ่นๆ ละ 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสอนแปรงฟันโดยการย้อมคราบจุลินทรีย์ ครึ่งวันบ่าย 12 รุ่นๆ ละ 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 477 คน คนละ 30.-บาท จำนวน 1 มื้อ
                                เป็นเงิน  14,310.-บาท
  2. ค่าสื่อความรู้
       - ตุ๊กตาฟันน้ำนม     เป็นเงิน   3,000.- บาท    - ตุ๊กตาฟันแท้         เป็นเงิน   3,000.-บาท    - โมเดลฟัน            เป็นเงิน   1,800.-บาท    - โมเดลการขึ้นของฟันแท้                              เป็นเงิน  2,500.- บาท
  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม                              เป็นเงิน   4,000.-บาท
  4. ค่าชุดแปรงสีฟัน จำนวน 477 คนๆ ละ   35.-บาท                  เป็นเงิน 16,695.-บาท
  5. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน
                                 เป็นเงิน   1,000.-บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 46,305.-บาท (เงินสี่หมื่นหกพันสามร้อยห้าบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้ดูแลสุขภาพฟันที่ถูกต้อง และแปรงฟันได้ถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46305.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,305.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น
2. นักเรียนมีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธี


>