กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. นายมาโนชญ์บุญญานุวัตร
2. นายฮองจันทร์อุ่ย
3. นายวิชัยเรืองเริงกุลฤทธิ์
4. นายราเชนทร์ไชยขวัญ
5. นางอรพินท์นาคประอิษฐ

ในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเรื้อรังทางเดินหายใจ คิดเป็น 9,662.07, 24,702.52, 809.14, 1,261.30 และ 333.17 ต่อแสนประชากร

 

60.00

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุจากการฉายภาพประชากรของสหประชาชาติ ประเทศในประชาคมอาเซียนและประเทศไทย จะเข้าสู่สังคมสูงวัยทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2573 ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” (Aged society) มาตั้งแต่ปี 2548 จากนั้นประเทศไทยจะใช้เวลา 16 ปี ก่อนจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) ในราวปี 2564 และจะใช้เวลาอีกเพียง 10 ปี ก็จะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super aged society) ประมาณปี 2574เมื่อคนไทยอายุยืนยาวขึ้นค่าใช้จ่ายของรัฐและครอบครัวในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นสำคัญ รัฐบาลจึงต้องรีบเร่งวางนโยบายและหามาตรการต่างๆ เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี สร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุในการปกป้องตนเองจากภัยรอบด้านด้วยการให้ข่าวสารความรู้ รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือ/กลไก/เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี
สำหรับในพื้นที่เทศบาลนครยะลา ประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไป ในปี 2560 มีจำนวน 8,785 คน คิดเป็นร้อยละ 14.43 มีการเจ็บป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเรื้อรังทางเดินหายใจ คิดเป็น 9,662.07, 24,702.52, 809.14, 1,261.30 และ 333.17 ต่อแสนประชากรตามลำดับ เพื่อเตรียมความพร้อมประชาชนในกลุ่มวัยนี้ ให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับผู้สูงอายุ เป็นเครื่องมือการรับรู้ข่าวสารที่ทันสมัย สอดคล้องกับสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Thailand 4.0) ของรัฐบาล
จากความสำคัญดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การสร้างเสริมสุขภาพด้วยการได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น กลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง

ข้อที่ 1 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง 

80.00
2 ข้อที่ 2 ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลทางด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

ข้อที่ 2 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงข้อมูลทางด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

ข้อที่ 3 ผู้สูงอายุผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลาเป็นจำนวนร้อยละ 80 

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 30/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน คนละ 25.-บาท          เป็นเงิน 250.-บาท                รวมเป็นเงิน 250 บาท          (เงินสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้วางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 รุ่นรุ่นละ 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30.-บาท
                             เป็นเงิน   6,000.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 50 คนๆ ละ 80.-บาท                          เป็นเงิน  8,000.-บาท
  3. ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์
                             เป็นเงิน  2,500.-บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 รุ่นๆ 1 วันๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                              เป็นเงิน    7,200.-บาท
  5. ค่าพาหนะเดินทาง จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 50 คนๆ ละ 2 เที่ยวๆ ละ 30.-บาท (ไปและกลับ) เที่ยว
                               เป็นเงิน   6,000.-บาท
  6. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน   1 ชิ้นๆ ละ 1,000.-บาท                            เป็นเงิน   1,000.-บาท                     7. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้สถานที่ฝึกอบรม (ค่าเช่าห้องประชุม) วันละ 1,500.-บาท จำนวน 2 วัน
                                เป็นเงิน 3,000.- บาท
    รวมเป็นเงิน 33,700.-บาท (เงินสามหมื่นสามพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดูแลสุขภาพตนเอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุสามารถรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรม ดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี สร้างภูมิคุ้มกัน ปกป้องตนเองจากภัยรอบด้านจากข้อมูลข่าวสาร และความรู้
2. ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดูแลสุขภาพตนเอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย


>