กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมทางกายในชุมชนเสรี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. นายสมชายแสงศรี
2. นางสาวปราณี พงษ์วิฑูล
3. นางสาวซาฟีย๊ะห์ไทยสนิท
4. นายสมาน เจ๊ะโซ๊ะ
5. นางสาวฟาตีเมาะดอเลาะ

ชุมชนเสรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานวิจัยมากมายได้แสดงหลักฐานว่า การมีกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอมีผลต่อสุขภาวะ สามารถลดอุบัติการณ์ของการเจ็บป่วย โรคเรื้อรัง เช่น ลดอุบัติการณ์โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน อ้วน และมะเร็ง จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ประมาณว่าการไม่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอเป็นสาเหตุของโรคหัวใจเลือด ร้อยละ 22-23 โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 16-17 เบาหวาน ร้อยละ 15 หลอดเลือดสมอง ร้อยละ 12-13
สำหรับกิจกรรมทางกายนั้น หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการใช้พลังงานในร่างกาย โดยเฉพาะครอบคลุมกิจกรรมทางกายทั้ง 3 ลักษณะ คือ1) กิจกรรมจากการทำงาน (Activity at work) ได้แก่ การทำงานโดยปกติ ที่ต้องออกแรงกายอย่างหนักหรือปานกลาง2) กิจกรรมจากการเดินทางในชีวิตประจำวัน (travel to and from places) ได้แก่ การเดิน และการขี่จักรยาน3) กิจกรรมยามว่าง (recreational activities) ได้แก่ การออกกำลังกาย เล่นกีฬา มีกิจกรรมยามว่าง กิจกรรมทั้ง 3 ลักษณะนี้ แต่ละลักษณะมีความหนักเบาของการใช้แรงกาย (intensity) ระยะเวลาที่มีกิจกรรม เป็นนาทีต่อวัน และความถี่ของการมีกิจกรรมเป็นวันต่อสัปดาห์จากผลการสำรวจกิจกรรมทางกาย ร้อยละ 42.6 ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายระดับมากและร้อยละ 38.2 ในเกณฑ์ปานกลาง โดยรวมร้อยละ 80.8 ของประชากรไทย 15 ขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายระดับเพียงพอ โดยในผู้ชายมีร้อยละ 81.6 ส่วนในผู้หญิง มีร้อยละ 80.0 สัดส่วนของคนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอมีสูงสุดในช่วงอายุ 30-59 ปี และลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น คนที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลมีร้อยละ 82.8 มีกิจกรรมทางกายสูงกว่าในเขต ซึ่งมีร้อยละ 78.4
จากความสำคัญดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการมีกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอมีผลต่อสุขภาวะ สามารถลดอุบัติการณ์ของการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะในชุมชนเสรีมีอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อประชากร (Cardiovascular disease) ในปี 2560 กลุ่มอายุ 50-59 คิดเป็นร้อยละ 1.11 และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 2.94 และยังขาดข้อมูลสุขภาพทางด้านกิจกรรมทางกายในชุมชน รวมถึงความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการโครงการกิจกรรมทางกายเป็นอย่างยิ่งดังนั้น คณะกรรมการชุมชน อสม. ในพื้นที่ ร่วมกับสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา และกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมทางกายในชุมชนเสรีนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ

ข้อที่ 1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ข้อที่ 2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

70.00
2 ข้อที่ 2 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ข้อที่ 2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

ข้อที่ 3 ประชาชนในชุมชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลาเป็นจำนวนร้อยละ 80 

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 30/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงคณะกรรมการชุมชน อสม. และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงคณะกรรมการชุมชน อสม. และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน คนละ 25.-บาท       เป็นเงิน      250.-บาท 2. ค่าถ่ายเอกสารการประชุม
                        เป็นเงิน      100.-บาท                รวมเป็นเงิน 350.-บาท           (เงินสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วางแผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การสำรวจสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายของประชาชน จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การสำรวจสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายของประชาชน จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถาม จำนวน 300 ชุดๆ ละ 5.-บาท จำนวน 2 ครั้ง
                             เป็นเงิน     3,000.-บาท
  2. ค่าตอบแทนเก็บข้อมูล จำนวน 300 ชุดๆ ละ 10.-บาท จำนวน 2 ครั้ง                          เป็นเงิน     6,000.-บาท
  3. ค่าตอบแทนบันทึกข้อมูล จำนวน 300 ชุดๆ ละ 5.-บาท จำนวน 2 ครั้ง                          เป็นเงิน     3,000.-บาท
                   รวมเป็นเงิน 12,000 บาท           (เงินหนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คืนข้อมูลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่ ประชาชนในชุมชน จำนวน 50 คน เป็นเวลา 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่ ประชาชนในชุมชน จำนวน 50 คน เป็นเวลา 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ 30.-บาท
                             เป็นเงิน     3,000.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 80.-บาท
                             เป็นเงิน     4,000.-บาท
  3. ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์
                             เป็นเงิน     1,250.-บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท                          เป็นเงิน     3,600.-บาท
  5. ค่ากระเป๋าเอกสาร จำนวน 50 ใบๆ ละ30.-บาท
                             เป็นเงิน     1,500.-บาท
  6. ค่าอุปกรณ์การอบรม (ตารางเก้าช่อง) จำนวน 50 ชิ้นๆ ละ 120.-บาท
                             เป็นเงิน     6,000.-บาท
    รวมเป็นเงิน 19,350.-บาท
    (เงินหนึ่งหมื่นเก้าพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19350.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการออกกำลังกาย ระยะเวลา 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการออกกำลังกาย ระยะเวลา 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนผู้นำการออกกำลังกาย ครั้งละ 1 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท ต่อคน สัปดาห์ละ ไม่เกิน 3 ครั้ง รวมแล้วไม่เกินเดือนละ 3,600 บาท                  เป็นเงิน    10,800.-บาท
    รวมเป็นเงิน 10,800 บาท (เงินหนึ่งหมื่นแปดร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดการออกกำลังกายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางกายในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางกายในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ชุดๆ ละ1,000.-บาท        เป็นเงิน       2,000.-บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท (เงินสองพันบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนมีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีการทำกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง
2. ประชาชนในชุมชนมีการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง
3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมภายในชุมชน


>