กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการแพทย์แผนไทยและการประยุกต์ใช้ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

ชุมชนหลังวัดเมือง เทศบาลนครยะลา

1. นางอัมพิกา สุภาอ้าย
2. นางขอตีเยาะ ซาและ
3. นางพัสตราภรณ์เกลี้ยงแก้ว
4. นางชนิษาทองมาก
5. นางชวนพิศเจริญคง

ชุมชนหลังวัดเมือง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นศาสตร์ที่ได้รับความสนใจ โดยเฉพาะแนวคิดการดูแลสุขภาพตนเอง
ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี ควรคำนึงถึงการปรับวิถีชีวิตในพฤติกรรมต่างๆ ตามแบบแผนการใช้ชีวิตประจำวัน อันจะส่งผลต่อการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย และทำให้มีสุขภาพดี พฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ การออกกำลังกาย การพักผ่อน การรับประทานอาหารและการทำงาน รวมถึงการดูแลสุขภาพของตนเองเมื่อเจ็บป่วย ถ้าประชาชนสามารถส่งเสริมให้มีการดูแลรักษาตนเอง โดยใช้ยาสมุนไพรหรือการนวดไทย จะสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อเรื้อรัง สร้างสมดุลการไหลเวียนของร่างกาย ป้องกันโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังได้ ที่สำคัญถ้าสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ก็ยิ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและประหยัดค่าใช้จ่ายในการให้บริการของสถานบริการ ยังเป็นผลดีและจะทำให้ประหยัดรายจ่ายและเป็นการพึ่งตนเองได้ด้วย
จากข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนในชุมชนหลังวัดเมือง พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร ในกลุ่มอายุ 50-59 ปี คิดเป็น 26.75% ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 45.58%อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานในกลุ่มอายุ 50-59 ปี คิดเป็น 9.65% ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 15.35% อัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อประชากร (Cardiovascular disease) ในกลุ่มอายุ 50-59 ปี คิดเป็น 0.44% ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 2.33%
ชุมชนหลังวัดเมือง เทศบาลนครยะลา เล็งเห็นความสำคัญของการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เข้าสู่ระบบการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนเกิดความยั่งยืนคือ องค์ความรู้ท้องถิ่น หากสามารถฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านการสร้างเสริมสุขภาพทั้งในมิติการดูแลตัวเองและการเยียวยารักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ชุมชนก็จะเข้มแข็ง โดยสิ่งสำคัญคือ การจัดการความรู้และการจัดการระบบทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ และความสามารถของประชาชน ในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ในการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80
80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีทักษะการประยุกต์ใช้สมุนไพร การนวดแผนไทย และการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้สมุนไพร การนวดแผนไทย และการออกกำลังกาย ได้อย่างถูกต้อง (เชิงคุณภาพ)
80.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อการมีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชน
  1. ประชาชนในชุมชนมีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรม
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 31/10/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและประยุกต์ใช้สมุนไพรในชุมชน จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและประยุกต์ใช้สมุนไพรในชุมชน จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อ มื้อละ 30.-บาท                    เป็นเงิน      1,800.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80.-บาท/มื้อ                      เป็นเงิน       2,400.-บาท
  3. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ  จำนวน 1 แผ่นๆ ละ1,000.-บาท                       เป็นเงิน       1,000.-บาท
    4.  ค่าสมนาคุณวิทยากร
         4.1 วิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท                                 เป็นเงิน      1,800.-บาท      4.2 วิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ 2 กลุ่มๆ ละ 1 คนๆ ละ
    3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท         เป็นเงิน      3,600.-บาท
  4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์การฝึกปฏิบัติทำลูกประคบ           (ผ้าขาวบาง ไพล ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด ใบมะขาม เกลือ พิมเสน) และน้ำมันไพล
                                 เป็นเงิน     3,000.-บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์                                         เป็นเงิน       500.-บาท รวมเป็นเงิน  14,100.-บาท (เงินหนึ่งหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการนวดเท้า จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการนวดเท้า จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อ มื้อละ 30.-บาท                   เป็นเงิน       1,800.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80.-บาท                           เป็นเงิน       2,400.-บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร
        3.1. วิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท                                เป็นเงิน       1,800.-บาท     3.2 วิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ 2 กลุ่มๆ ละ 1 คนๆ ละ
    3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท จำนวน 2 คน            
                                          เป็นเงิน      3,600.-บาท
  4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์การฝึกปฏิบัติการนวดเท้า (ผ้าขนหนู
    ผืนละ 40.-บาท ไม้กดจุด 30.-บาท โลชั่นบำรุงผิว 30.-บาท) จำนวน 30 ชุดๆ ละ 100.-บาท 
                                          เป็นเงิน      3,000.-บาท5. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์                                        เป็นเงิน        500.-บาท รวมเป็นเงิน  13,100.-บาท (เงินหนึ่งหมื่นสามพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการออกกำลังกาย จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการออกกำลังกาย จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อ       มื้อละ 30.-บาท                    เป็นเงิน      1,800.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80.-บาท                            เป็นเงิน      2,400.-บาท 3.  ค่าสมนาคุณวิทยากร
        3.1 วิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท จำนวน 2 คน         เป็นเงิน     1,800.-บาท     3.2 วิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ 2 กลุ่มๆ ละ 1 คนๆ ละ    3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท จำนวน 2 คน        
                                            เป็นเงิน    3,600.-บาท
  3. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์                                         เป็นเงิน       500.-บาท รวมเป็นเงิน  10,100.-บาท (เงินหนึ่งหมื่นหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรม ได้นำความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้
2. ส่งเสริมภูมิปัญญาการใช้สมุน การนวดแผนไทย และการออกกำลังกาย ให้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพลดปริมาณการใช้ยารักษาโดยไม่จำเป็น
3. ผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย เกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัว จากการเอาใจใส่ดูแลต่อกัน และ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. ส่งเสริมให้เกิดอาชีพของประชาชนในชุมชน และสร้างรายได้เข้าชุมชน


>