กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านซ่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝากครรภ์ บุตรดี มีคุณภาพ ประจำปีงบประมาณ2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านซ่อง

โรงพยาบลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง

นางปิยากรเขียวเจริญ
นางสาวพัชรภรณ์ฝางริต
นางสาวเพ็ญภักต์ปะสาวะนัง
นางสาวศรสวรรค์ไชยวงค์ทอง
นางสาวนุชรีเอี่ยมศรี

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง (ชั้น2)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

 

85.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

9.00
3 ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือนที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

 

76.00
4 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

43.00
5 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

 

37.50

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์เพื่อการตั้งครรภ์และ การคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่นมารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรงองค์การอนามัยโลกได้ศึกษาวิจัยชนิดทดลองในคลินิกดูแลสตรีตั้งครรภ์ เพื่อเปรียบเทียบ การดูแลสตรีตั้งครรภ์ตามมาตรฐานตะวันตกกับการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งจะดูแล สตรีตั้งครรภ์ทั่วไปที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผลการศึกษาพบว่าการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อ มารดาและทารก ยังช่วยลดจำนวนครั้งการฝากครรภ์เหลือเพียง 5 ครั้ง จากมาตรฐานที่กำหนดประมาณ8- 12 ครั้ง ลดทรัพยากรที่ไม่จำเป็นของสตรีตั้งครรภ์ อีกทั้งการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่กับการดูแลตามมาตรฐานเดิม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในเรื่องภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ การ ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย สตรีตั้งครรภ์จะได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงโดยใช้ Classifying form ถ้าเป็น High risk จะไม่ใช้การดูแล สตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีความเสี่ยง 18 ข้อ จึงจะได้รับการดูแลตามระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ แนวใหม่ จะนัดหมายการดูแล 5 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์12 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และครั้งที่5 อายุครรภ์ 36-38 สัปดาห์ ในแต่ละครั้งของการนัดตรวจจะกำหนดบริการ พื้นฐานที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์ มีการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ ให้การรักษาให้การแนะนำให้ตระหนักและเฝ้าระวังปัญหาฉุกเฉินระหว่างตั้งครรภ์และการแก้ไข มี ช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ที่สะดวกรวดเร็ว กรมอนามัยจึงได้ดำเนินงานโครงการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ใน บริบทประเทศไทยหรือ ANC คุณภาพ ได้ปรับองค์ประกอบของระบบดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง เป็นจำนวน5 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการมาดูแลครรภ์ อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งเพิ่มกิจกรรมบริการที่สตรีตั้งครรภ์จะได้รับและได้ปรับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กให้ เนื้อหาสอดคล้องกับการดำเนินงานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

85.00 90.00
2 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

9.00 5.00
3 เพิ่มเด็กแรกเกิดที่กินนมแม่

ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือนที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

76.00 78.00
4 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น

43.00 52.00
5 ลดพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัด

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

37.50 42.00

1. เพื่อให้ อสม.มีความรู้เรื่องการฝากครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์
2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามเกณฑ์การฝากครรภ์คุณภาพ
3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีผลการตรวจความเข้มข้นเลือด (ครั้งที่ 2) มากกว่า 33%
4. เพื่อให้ทารกหลังคลอดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้และการเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านด้านอาหารและโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้และการเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านด้านอาหารและโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณ 2.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานแก่ผู้นำชุมชนและกลุ่มเป้าหมายในชุมชน 3. ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 4.จัดหาวิทยากรในการสอน 5. จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และ อสม.เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพ/การบริโภคอาหารที่เหมาะสมและการบริโภคเครือเเละผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน 6.ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่มีผลการตรวจความเข้มข้นเลือด(ครั้งที่1) น้อยกว่า 33% โดย อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 7.ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน(1-2 ก.ก./เดือน) โดย อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 8. ประเมินผลและรายงานผล งบประมาณในการดำเนินโครงการ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านซ่องจำนวน 9,250 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน คนละ 1 มื้อมื้อละ 75 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บา

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามเกณฑ์การฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
2.หญิงตั้งครรภ์มีผลการตรวจความเข้มข้นเลือด(ครั้งที่ 2 ) มากกว่า 33%
3.ทารกหลังคลอดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5250.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสารปนเปื้อนในตลาดและร้านจำหน่ายสินค้าในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารปนเปื้อนในตลาดและร้านจำหน่ายสินค้าในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ตรวจฉลากและป้ายแสดงคุณค่าอาหารในร้านจำหน่ายอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หญิงตั้งครรภ์ทุกรายมีความรู้ในการดูเเลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ บริโภคอาหารที่เหมาะสม
หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ตามเกณ์ 5 ครังคุณภาพ
เด็กในครรภ์มีความสมบูรณ์เเข็งเเรงและมีนำหนักเเรกคลอดมากกว่า 2500 กรัม


>