กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดัน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุมตำบลป่าสักอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนที่เรื้อรังและรุนแรงได้เช่น ภาวะหลอดเลือดตีบแข็งความดันโลหิตสูง จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด ร่วมกับเป็นแผลเรื้อรังติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดความพิการหลายประการ ได้แก่ตาบอด หรือถูกตัดขา ซึ่งมีปัญหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมรวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว ทำให้ญาติผู้เกี่ยวข้องต้องแบกภาระในการติดตามดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิตของผู้ป่วย ทำให้เกิดการขาดรายได้ในการประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งหากผู้ป่วยและครอบครัวไม่มีความเข้าใจในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร่วมกับญาติให้การดูแลผู้ป่วยไม่ถูกต้อง ปัญหาต่างๆดังกล่าวรวมถึงภาวะแทรกซ้อนก็อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากไม่สามารถควบคุมภาวะแทรกให้อยู่ในภาวะปกติได้ ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาที่เรื้อรังต่อไป
พื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองหลุม 18 หมู่บ้าน ปี 2560 ประชากร 13,635 คน มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 550 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 1,276 ราย รักษาที่รพ.สต. 354 ราย จากการคัดกรองพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 12 รายความดันโลหิตสูงรายใหม่ 24 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นแต่ละปี ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่รุนแรงจำนวน 31 ราย (ภาวะแทรกซ้อนทางไต 22 ราย ฟอกไต 7 ราย โรคหลอดเลือดสมอง 8 ราย เสียชีวิต 3 ราย)ซึ่งสาเหตุการเกิดภาวะแทรกซ้อนมาจาก ผู้ป่วยมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองขณะเป็นโรคไม่ถูกต้องและขาดความตระหนักในการดูแลตนเอง เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับผู้ป่วย จึงไม่สามารถแก้ไขให้อยู่ในสภาวะปกติได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขต่างๆ ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองหลุม จึงเห็นว่าการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ร่วมรับรู้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งใช้วิธีให้ผู้ป่วยและญาติเข้ามามีส่วนร่วมดูแล ให้ผู้ป่วยเกิด ความตระหนักในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและมีความต่อเนื่อง ให้ความรู้และการสร้างความตระหนักแก่ผู้ป่วย และญาติผู้ดูแล ฝึกทักษะกิจกรรมในการดูแลตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ป่วยเบาหวานในรายอื่นๆต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงให้ถูกต้อง และมีความเหมาะสมกับโรค

 

0.00
2 เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงให้กับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและญาติสามารถดูแลตนเองได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุขตามศักยภาพ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประสานงานกับหน่วยงานและกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานกับหน่วยงานและกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ครั้งที่1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน/ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและญาติผู้ดูแล

ชื่อกิจกรรม
ครั้งที่1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน/ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและญาติผู้ดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12100.00

กิจกรรมที่ 3 ครั้งที่2 ประชุมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
ครั้งที่2 ประชุมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>