กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตำบลปุโละปุโยปลอดโฟม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลปุโละปุโย

1. นางสาวแอเสาะ ดอเลาะ
2. นางสาวบัดรีหย๊ะ เจ๊ะมุ
3. นางสาวสารีฮา กาเดร์
4. นางสาวนูรีดา ลาเตะ
5. นางสาวคอดีเยาะห์ แวนิด

ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตัวเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้โฟม เป็นภาชนะในการบรรจุอาหารที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่า เมื่อนำกล่องโฟมไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูงหรือที่มีไขมันหรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนอาหารซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ สารสไตรินออกฤทธิ์ ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซินออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูกทำให้โลหิตจาง และสารทาเลทเป็นสารทำลายระบบสืบพันธ์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ขบวนการกำจัดโฟม ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
2. เพื่อสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน แกนนำนักเรียน อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชน เจ้าของตลาดนัด ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอยและผู้บริโภค ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร
3. เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนปลอดโฟมบรรจุอาหาร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 303
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการตำบลปุโละปุโยปลอดโฟม

ชื่อกิจกรรม
โครงการตำบลปุโละปุโยปลอดโฟม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุโละปุโย ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาเกี่ยวกับภัยอันตรายจากการใช้โฟม
  2. จัดทำโครงการเสนออนุมัติ
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน เป็นทีมติดตาม ประเมิน สำรวจร้านค้า/ร้านอาหารแผงลอย ตลาดนัด โรงเรียน และชุมชน ที่ลด ละ เลิก การใช้โฟมและใช้ภาชนะอื่นในการบรรจุอาหารแทนโฟม อย่างต่อเนื่องทุก 1 เดือน 4.ให้แกนนำชุมชน สำรวจร้านค้า/ร้านอาหารแผงลอย ตลาดนัด ในพื้นที่ปุโละปุโย เพื่อสำรวจการจำหน่ายโฟมในร้านค้า และสำรวจร้านอาหารที่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมมีความรู้ ความตระหนักถึงอันตรายของการใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ร่วมกันถึงทำนโยบายของชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ครอบคลุมทุกหมู่บ้านได้
2. หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ตำบลปุโละปุโยสามารถ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam) ได้
3. ชุมชนในพื้นที่ตำบลปุโละปุโยสามารถ ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam) ได้


>