กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

นักเรียนเทศบาลนครหาดใหญ่ รู้เท่าทันภัยทางน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่

ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นายรชดี้ บินหวัง
นายธานันธ์ สาเล็ง
นางสาวศุภานนท์ โสภามณี
นางสาวศุภานนท์ โสภามณี
นางสาวจิรวรรณ ไชยรัตน์
นางสาวจิรภิญญา สุขไพบูลย์สมบัติ
นางสาว ธนพร ชนะวรรณโณ

โรงเรียนเทศบาล 1-6

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การจมน้ำนับเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีต้องเสียชีวิต ซึ่งมีสถิติสูงกว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ และสูงเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร พบว่าในแต่ละปีเด็กไทยเสียชีวิตจากการจมน้ำประมาณ 1,500 คน หรือเฉลี่ยวันละ 4 คน และยังมีแนวโน้มสูงมากขึ้น พบว่าอุบัติเหตุจากการจมน้ำนั้นมี 2 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข, 2552) จากการสำรวจข้อมูลเด็กไทยปี พ.ศ. 2546-2547 พบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ว่ายน้ำเป็นร้อยละ 16.3 คน หรือกล่าวได้ว่าในจำนวนเด็กที่อายุน้อยกว่า 15 ปี จำนวนกว่า 13 ล้านคน ว่ายน้ำเป็นเพียง 2 ล้านคน และเด็กส่วนใหญ่ไม่เรียนว่ายน้ำจนกว่าอายุ 9 ปีขึ้นไป ซึ่งในต่างประเทศพบว่า การสอนเด็กให้ว่ายน้ำเป็นและรู้จักวิธีการเอาชีวิตรอด ถือเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการจมน้ำของเด็ก แต่สำหรับประเทศไทยโอกาสฝึกว่ายน้ำของเด็กยังอยู่ในวงจำกัด และการสอนว่ายน้ำที่มีอยู่ยังขาดในเรื่องของทักษะความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด การป้องกันอุบัติภัยทางน้ำและการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2552)

ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า การจมน้ำยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ในรอบ 10 ปีตั้งแต่ พ.ศ.2551 – 2560 มีรายงานเสียชีวิตรวม 9,574 คน เฉลี่ยปีละ 957 คน โดยเฉพาะเดือนตุลาคมเป็นช่วงปิดเทอม พบว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเสียชีวิตการจมน้ำเฉลี่ยวันละ 3 คน สูงรองจากช่วงปิดเทอมใหญ่ภาคฤดูร้อน (เดือนมีนาคม – พฤษภาคม) โดยเดือนตุลาคมปี 2560 มีเด็กเสียชีวิต 75 คน กลุ่มอายุ 5 – 9 ปีเสียชีวิตมากที่สุด ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเร่งให้ความรู้ประชาชน ผู้ปกครอง ผ่านสื่อต่าง ๆ ในท้องถิ่น เพื่อป้องกันเด็กจมน้ำเสียชีวิตปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การจมน้ำส่วนใหญ่เกิดจากการไปเล่นน้ำตามแหล่งน้ำสาธารณะมากที่สุด โดยเกือบทั้งหมดไม่มีอุปกรณ์ช่วยลอยตัวขณะเกิดเหตุ ที่น่าสังเกตคือ เด็กที่เสียชีวิตร้อยละ 12.5 ว่ายน้ำเป็น และคุ้นเคยกับแหล่งน้ำที่ไปเล่น แต่ไม่ทราบสภาพใต้น้ำที่ เช่น น้ำมีความเชี่ยว กระแสน้ำแรง และมีความลึกมาก รวมทั้งเด็กบางคนไม่ได้ตั้งใจไปเล่นน้ำ แต่พลัดตกน้ำจากการเดินหรือยืนใกล้ขอบบ่อ หรือไปกับผู้ใหญ่ที่ออกหาปลาแล้วปล่อยเด็กเล่นน้ำกันเองตามลำพัง

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเสริมต่อว่า ดังนั้น ครูหรือ ผู้ปกครอง ต้องสอนเด็กให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ที่สำคัญคือจะต้องสอนให้เด็กมีทักษะการเอาชีวิตรอดและวิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำที่ถูกต้อง ไม่ลงไปช่วยคนจมน้ำด้วยตนเอง ให้ “ตะโกน” เรียกผู้ใหญ่มาช่วย “โยน” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ โดยโยนครั้งละหลายๆ ชิ้น “ยื่น” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669 ส่วนชุมชนควรสำรวจแหล่งน้ำเสี่ยง และติดป้ายเตือน พร้อมติดตั้งอุปกรณ์การช่วยคนตกน้ำที่หาได้ง่ายในชุมชน (อ้างถึงใน : www.fm91bkk.com)

จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ ปีที่ 46 ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2558โดยสํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าสถานการณ์การจมน้ำของเด็กไทย ปี พ.ศ. 2557 สถิติ พบว่าร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่บาดเจ็บรุนแรงจากการตกน้ำ จมน้ำ ประเทศไทย จำแนกตามวันที่เกิดเหตุ (ค่าเฉลี่ย 10 ปี) พบว่า วันเสาร์-อาทิตย์มีสถิติสูงที่สุด ขณะเดียวกันพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ความเผอเรอของผู้ปกครอง แหล่งน้ำเสี่ยงคือ กะละมัง ถังน้ำ โอ่ง อ่างเลี้ยงปลา และยังพบว่าเด็กอายุมากกว่า 5 ปี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่รู้วิธีเอาชีวิตรอด แหล่งน้ำเสี่ยงได้แก่ บ่อขุดเพื่อการเกษตร แม่น้ำ คลอง หนอง บึง
ขณะเดียวกัน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข 2557 เปิดเผยข้อมูลว่า จังหวัดสงขลาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีจำนวนการเสียชีวิตสูงสุด 10 ลำดับแรกของประเทศไทย ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 - 2557 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสะสมทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ปี 2554-2557 จำนวน 267 คน เฉลี่ยเสียชีวิตปีละ 66 คน โดยพบว่าร้อยละ 34 (92 คน) ของผู้ที่เสียชีวิตมีอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นเด็กเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 เท่าตัว การกระจายการเสียชีวิตรายเดือน พบว่า ช่วงที่มีการเสียชีวิตมากมี 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม (12,14 และ 10 คน ตามลำดับ) อีกช่วงคือ เดือน ตุลาคม (13 คน) ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียน และตรงกับเทศกาลสงกรานต์อำเภอที่มีเด็กเสียชีวิตมากที่สุดในจังหวัดสงขลา คือ อำเภอเมืองสงขลา และอำเภอหาดใหญ่ (19 คน) และมีเด็กเสียชีวิตติดต่อกันทุกปี รองลงมาคืออำเภอสะเดา (11 คน) แหล่งน้ำที่เด็กเสียชีวิตมีการระบุไว้ 51 คน พบว่า จมน้ำในแหล่งน้ำบริเวณบ้านมากที่สุด จำนวน 11 คนรองลงมาคือ คลอง ทะเล บ่อขุดเพื่อการเกษตร จำนวน 10, 9 และ 5 คน ตามลำดับทั้งนี้ 4 ปัจจัยหลักที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสามารถสนับสนุนให้เด็กสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ดีขึ้นประกอบด้วย ผู้ปกครอง ที่ที่ต้องสนับสนุนให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบได้รับโอกาสในการฝึกว่ายน้ำ ขณะเดียวกันตัวเด็กเอง ที่มีระยะเวลาในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน และในส่วนของผู้ประกอบการ ที่ไม่ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในสระให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้เด็กเรียนอย่างมีความสุข ไม่เสียสุขภาพ หรือเกิดความหวาดกลัว และด้านหน่วยงานภาครัฐที่ไม่มีนโยบายเชิงรุก ที่หน่วยงานท้องถิ่นต้องดำเนินการ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เป็นองค์กรชั้นนำที่ทำงานส่งเสริมอาสาสมัครทั้งในและระหว่างประเทศซึ่งได้รับรางวัลยอดเยี่ยม รางวัลโล่พระราชทานประเภทสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมงานอาสาสมัครในสถาบันการศึกษา จากการประกวดโครงการงานมหกรรมจิตอาสาในสถาบันการศึกษา ปี 2 (2556) ระดับอุดมศึกษา (Education & Volunteer Expo 2013) จากที่หลายหน่วยงาน หลายคณะในมหาวิทยาลัยได้ดำเนินภารกิจด้าน จิตอาสาเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. ถือเป็นหน่วยงานที่มุ่งส่งเสริม สนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรได้ทำงานด้านอาสาสมัครเพื่อสังคมตามศักยภาพ ความรู้ความสามารถที่ตนเองมี
ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวเอง เพื่อนมนุษย์ และสังคม ตามพระราชปณิทานของพระราชบิดาที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” จึงได้ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรขับเคลื่อนโครงการเพื่อสังคมในหลากหลายโครงการ เช่น โครงการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว เฮติ น้ำท่วมในพม่า สอนหนังสือภาษาไทยให้เด็กพม่าที่วัดคลองเป โครงการอาสาพัฒนาชุมชน ค่าพัฒนาชุมชน เป็นต้น รวมทั้งสนับสนุนโครงการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางน้ำตามหลักสูตรกระทรวงสาธารณสุข ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทั้งแก่ชุมชน โรงเรียนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่และโรงเรียนที่สนใจ โดยที่ผ่านมาได้จัดโครงการอบรมทักษะด้านความลปอดภัยทางน้ำมาแล้วกว่า 10 ครั้ง กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมรวมกว่า 1,500 คน และฝึกทักษะด้านการว่ายน้ำขั้นพื้นฐานแล้วกว่า 200 คน

ดังนั้นจากข้อมูลความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางน้ำของเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำนักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่ และศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นความจำเป็นสำคัญ ในการสร้าทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อป้องกันเหตุเสียชีวิตจากการจมน้ำ พร้อมกับมีแนวคิดในการพัฒนาเด็กเยาวชนในโรงเรียนเทศบาล 1 - เทศบาล เทศบาล 6 ให้มีทักษะด้านความปลอดภัยทางน้ำพร้อมถ่ายทอนให้คนอื่นได้ จึงได้จัดทำโครงการ “เด็กเทศบาลนครหาดใหญ่ รู้เท่าทันภัยทางน้ำ” ขึ้นให้แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1-6 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ของโรงเรียนเทศบาล 1 ถึงเทศบาล 6 ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างปลอดภัยตามหลักสูตรมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางน้ำของกระทรวงสาธารณสุข มีทักษะการ CPR เบื้องต้น และมีความรู้ความสามารถในการประดิฐเสื้อชูชีพแบบง่ายเพื่อความปลอดภัยทางน้ำ พร้อมนำไปสู่การขยายผลไปยังกลุ่มเพื่อนๆ ทั้งในโรงเรียนและในพื้นที่เสี่ยงภัยใกล้เคียงต่อไปด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มทักษะด้านความปลอดภัยทางน้ำทั้งด้านการตะโกน โยน ยื่น การช่วยเหลือคนตกน้ำอย่างปลอดภัย การทำเสื้อชูชีพแบบง่าย และการช่วยหายใจ/นวดหัวใจ (CPR) แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1-6 จำนวน 1200 คน

นักเรียนในโรงเรียนเทศบาลนครหาดใหญ่ (เทศบาล1-6) มีทักษะด้านความปลอดภัยทางน้ำทั้งด้านการตะโกน โยน ยื่น การช่วยเหลือคนตกน้ำอย่างปลอดภัย การทำเสื้อชูชีพแบบง่าย และการช่วยหายใจ/นวดหัวใจ (CPR) แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1-6 จำนวน 1,200 คน

2.00
2 เพื่อให้ตอบโจทย์ปัญหากลุ่มนักเรียน ท1-6ที่เสี่ยงอุบัติเหตุทางน้ำอย่างแท้จริง ทางโครงการจะมีการคัดเลือกผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น 6 ชั่วโมง แล้วมีความเสี่ยงภัยทางน้ำ หรือจำเป็น หรือสนใจเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรทักษะด้านการว่ายน้ำขั้นพื้นฐาน หน่วยงานจัดโครงการจะดำเนินการต่อยอดไปสู่โครงการอบรมทักษะพื้นฐานด้านการว่ายน้ำต่อไป

ทุกโรงเรียนมีกลุ่มเสี่ยงภัยทางน้ำ หรือสนใจอยากเข้าฝึกอบรมหลักสูตรการว่ายน้ำขั้นพื้นฐานจากโครงการ ทั้งสิ้น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 25-30 คน

1.00

2.1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ของโรงเรียนเทศบาล 1 ถึงเทศบาล 6 ในเขตเทศบาล นครหาดใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางน้ำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำ ตามหลักสูตรมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
2.2 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ของโรงเรียนเทศบาล 1 ถึงเทศบาล 6 ในเขตเทศบาล นครหาดใหญ่ มีทักษะด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างปลอดภัยตามหลักสูตรตะโกน โยน ยื่น ตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางน้ำของกระทรวงสาธารณสุข
2.3 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ของโรงเรียนเทศบาล 1 ถึงเทศบาล 6 ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีความรู้ความสามารถในการประดิฐเสื้อชูชีพแบบง่าย และมีทักษะพื้นฐษนด้านการ CPR เพื่อการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ประสบภัยทางน้ำได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2018

กำหนดเสร็จ 31/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เยาวชนในเทศบาลนครหาดใหญ่ รู้เท่าทันภัยทางน้ำ

ชื่อกิจกรรม
เยาวชนในเทศบาลนครหาดใหญ่ รู้เท่าทันภัยทางน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

7.1 กิจกรรม 6 ครั้ง แต่ละครั้งประกอบด้วย
เวลา 08.30- 08.45 น. พิธีเปิดโครงการ โดย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ เวลา 08.45- 09.00 น. วิดิโอแนะนำโครงการ และหลักสูตรการฝึกอบรม
เวลา 09.00- 12.00 น. อบรมภาคทฤษฎี เรื่องความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ (Water Safety Knowledge)
เวลา 13.00- 16.00 น. เข้าฐานการเรียนรู้เพื่อ…ฝึกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ (Water Rescue)โดยใช้อุปกรณ์ช่วยชีพฝึกปฏิบัติการทำเสื้อชูชีพแบบง่ายฝึกทักษะด้านการช่วยเหลือคนตกน้ำตามหลักสูตรตะโกน โยน ยื่น และฝึกทักษะด้านการCPR
เวลา 16.00- 16.30 น. ประเมินผลการฝึกอบรม / กิจกรรมทดสอบ/ แจกของรางวัลพร้อมพิธีปิด โดยผู้อำนวยการโรงเรียน
เวลา 16.40- 17.00 น. สรุป After Action Review : (AAR) คณะครูและผู้บริหาร/ทีมงานประเมินการดำเนินโครงการร่วมกับทีมทำงานตามหลัก PDCA

7.2 รายละเอียดงบประมาณรวม 6 ครั้ง (เฉลี่ยครั้งลอ 40,733 บาท)
7.2.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 59,100
- ประชุมทีมเพื่อเตรียมงาน10 คน × 6 มื้อ × 35 บาท 2,100 บาท
- ประชุมทีมเพื่อถอดบทเรียนทีมงาน(10 คน × 6 มื้อ × 35 บาท) 2,100 บาท
- อาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ
และผู้สื่อข่าวท้องถิ่น 200 คน × 1 มื้อ × 6 โรงเรียน × 35 บาท 42,000 บาท
- อาหารเที่ยงสำหรับคณะทำงาน
และผู้สื่อข่าวท้องถิ่น 42 คน × 1 มื้อ × 6 ครั้ง × 50 บาท 12,600บาท
7.2.1 ค่าตอบแทนทีมวิทยากร 115,200บาท
- วิทยากรหลักอบรมภาคทฤษฎี 1 คน× 3 ชั่วโมง × 1200 บาท × 6 ครั้ง 21,600บาท
- วิทยากรหลักอบรมภาคปฏิบัติ 2 คน× 3 ชั่วโมง × 600 บาท × 6 ครั้ง 21600บาท
- ผู้ช่วยวิทยากร8 คน × 250 บาท × 6 ชั่วโมง × 6 ครั้ง 72,000บาท
- อาสาสมัครช่วยวิทยากร30 คน/ครั้ง 0.00 บาท 7.2.2 ค่าสัมพันธ์ไวนิล สื่อประชาสัมพันธ์ และคู่มือประกอบการดำเนินงานโครงการ 53,600
- ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์/พิธีเปิดงานโครงการ(ขนาด 2.5 เมตร×4 เมตร) 1 ชิ้น × 6 โรงเรียน × 600 บาท 3,600 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารคู่มือด้านความปลอดภัยทางน้ำ 1,200 ชุด × 25 บาท 30,000บาท
- ค่าวิดิโอสำหรับประมวลผลงานโครงการ เหมาจ่าย20,000 บาท
7.1.3 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม 16,500บาท
- ท่อ PVC ขนาด 4 หุน
7.2.4 กิจกรรมฝึกช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ 10 เส้น × 120 บาท 2,000 บาท
- เชือกในล่อนสำหรับฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ200 เมตร × เมตรละ 50 บาท 2,000 บาท
- ปากกา1 กล่อง 100 บาท
- กระดาษ A41 รีม 100 บาท
- เชือกฟางสำหรับทำเสื้อชูชีพแบบง่าย 20 มวน300 บาท
- ขวดน้ำพลาสติก 150 ขวด(หาขวดน้ำที่ใช้แล้ว) 0 บาท - หุ่นตังกวนสำหรับฝึก CPR 4,000 บาท ×3 ตัว 12,000 บาท
7.2.4 ค่าเดินทาง 6000 บาท - เดินทางไปกลับ 1,000 บาท × 6 ครั้ง

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 250,400 บาท (สองแสนห้าหมื่นสี่ร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. การให้ความรู้ภาคทฤษฎีเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ/ความเสี่ยงต่างๆ ด้วยวิธีการบรรยายให้ความรู้ ทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ความเสี่ยงต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีพฤติกรรมเสี่ยงภัยทางน้ำลดลง ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางน้ำ
  2. ด้านการฝึกทักษะด้านการช่วยเหลือคนตกน้ำตามหลักสูตรตะโกน โยน ยื่น ผ่านการเข้าฐานฝึกปฏิบัติการ ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะด้านการช่วยเหลือคนจมน้ำตามหลักการ ตะโกน โยน ยื่น ทำให้ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว มีทักษะตะโกนโยนยื่นติดตัวไปตลอดชีวิต และมีความมั่นใจในการใช้ทักษะหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับตัวเองและผู้อื่น
  3. ด้านการฝึกทักษะการทำเสื้อชูชีพแบบง่าย โดยใช้วิธีการเข้าฐานฝึกปฏิบัติการ ทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีทักษะด้านการทำเสื้อชูชีพแบบง่ายไว้ใช้ยามฉุกเฉิน หรือ กิจวัตที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และทำให้เกิดทักษะการประดิษฐ์เสื้อชูชีพแบบง่ายติดตัวไปตลอดชีวิต และมีความมั่นใจในการใช้ทักษะหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับตัวเองและผู้อื่น
  4. ด้านการฝึกทักษะด้านการCPR เข้าฐานฝึกปฏิบัติการ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนวดหัวใจ (CPR) ได้อย่างถูกต้อง นั้น ผู้เข้าฝึกอบรม จะเกิดความรู้ความสามารถด้านการนวดหัวใจ (CPR) ได้อย่างถูกต้องติดตัวไปตลอดชีวิต และมีความมั่นใจในการใช้ทักษะหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับคนใกล้ชิด บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 250,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ของโรงเรียนเทศบาล 1 ถึงเทศบาล 6 ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางน้ำ ตามหลักสูตรมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางน้ำของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมสามารถนำไปแนะนำผู้อื่นได้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ของโรงเรียนเทศบาล 1 ถึงเทศบาล 6 ในเขตเทศบาล นครหาดใหญ่ มีทักษะด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างปลอดภัยตามหลักสูตรมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางน้ำของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งมีทักษะ และความมั่นใจมากขึ้นด้านความปลอดภัยทางน้ำ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ของโรงเรียนเทศบาล 1 ถึงเทศบาล 6 ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีความรู้ความสามารถในการประดิฐเสื้อชูชีพแบบง่ายเพื่อความปลอดภัยทางน้ำ พร้อมสามารถถ่ายทอดแก่ผู้อื่นได้
4. พบเจอกลุ่มเสี่ยงภัยทางน้ำจากกลุ่มผู้เข้าร่วมฝึกอบรม และหากกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวสนใจอยากพัฒนาทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำ ทางโครงการจะดำเนินการจัดฝึกอบรมในโอกาสต่อไป


>