กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

1. นายเอนก กลิ่นรส
2. นางสาวณัฎฐณิชา สมจิตร
3. นายธานัท ยอดแก้ว
4. นางสาวกิตติยา สงบุตร

รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 50.50

 

3.00
2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 46.32

 

3.00

ในสถานการณ์การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีความชุกค่อนข้างสูงและนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนที่เรื้อรังและรุนแรงได้เช่นภาวะหลอดเลือดตีบแข็งความดันโลหิตสูงจอประสาทตาเสื่อมไตวายโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดร่วมกับเป็นแผลเรื้อรังติดเชื้อได้ง่ายซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดความพิการหลายประการได้แก่ตาบอด หรือถูกตัดขาซึ่งปัญหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา เช่นทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมรวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัวทำให้ญาติผู้เกี่ยวข้องต้องแบกภาระในการติดตามดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิตของผู้ป่วยทำให้เกิดการขาดรายได้ในการประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวซึ่งหากผู้ป่วยและครอบครัวไม่มีความเข้าใจในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ผู้ป่วยกำลังเชิญอยู่ร่วมกับให้การดูแลผู้ป่วยไม่ถูกต้องปัญหาต่างๆดังกล่าวรวมถึงภาวะแทรกซ้อนก็อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งหากไม่สามารถควบคุมภาวะแทรกให้อยู่ในภาวะปกติได้ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาที่เรื้อรังต่อไป
จากสภาพพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวรับผิดชอบ 3 หมู่บ้านประชาการ2,629 คนความชุกของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปี2561เป็น 46.35/พันประชากร ตามลำดับอัตราการเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ร้อยละ 0.63 ซึ่งสูงขึ้นเรื่อยๆมีผู้ป่วยแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานจำนวน5 รายส่วนโรคความดันโลหิตสูงความชุกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปี2561เป็น 191.05/พันประชากรอัตราการเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ร้อยละ 2.68ซึ่งสูงขึ้นเรื่อยๆมีผู้ป่วยแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงคัดเลือกมาจำนวน5 รายซึ่งสาเหตุการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากระหว่างที่ผู้ป่วยยังเป็นผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองขณะเป็นโรคไมถูกต้องและขาดความตระหนักในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับผู้ป่วยจึงไม่สามารถแก้ไขให้อยู่ในสภาวะปกติได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขต่างๆ ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวจึงเห็นว่าการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนโดยคิดหาวิธีการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลร่วมรับรู้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งใช้วิธีให้ผู้ป่วยและญาติเข้ามามีส่วนร่วมดูแลให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและมีความต่อเนื่องโดยมีกิจกรรมการออกกำลังกายการรับประทานอาหารการตรวจเลือดสม่ำเสมอให้ผู้ป่วยและญาติเกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจอยากทำทำได้ซึ่งการออกกำลังกายจะเป็นการช่วยกระตุ้นการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลเนื้อเยื่อมากขึ้นและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลงและการทำให้ระดับความเครียดลดลงจะช่วยให้ระดับน้ำตาลไม่เพิ่มขึ้นร่วมกับการนำสมุนไพรที่มีรสฝาดเปรี้ยวและเค็มมาต้มและทำให้ร้อนหรืออุ่นพอดีโดยนำมาแช่มือแช่เท้าจะช่วยให้มีการกระตุ้นการไหลเวียนและการทำงานของระบบประสาทส่วนปลายให้ดีขึ้นทุเลาอาการชาปลายมือปลายเท้าลงและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลซึ่งเริ่มจากการสร้างความตระหนักให้กับผู้ป่วยร่วมกับญาติและฝึกทักษะกิจกรรมในการดูแลตนเองเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ป่วยเบาหวานในรายอื่นๆต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานให้ถูกต้องและมีความเหมาะสมกับโรค ร่วมกับป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงให้กับผู้ป่วยเบาหวานโดยให้ญาติผู้ดูแลมีส่วนร่วม ร้อยละ 50

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 10 คน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวและดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานการดูแลตนเองขณะเป็นโรคให้ผู้ป่วยและญาติในข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์หลังจากที่ได้สรุปปัญหาและปัจจัยในการปฏิบัติตัวต่างๆ ซึ่งจะให้ความรู้ในเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะเป็นโรคพยาธิสภาพของโรคการดำเนินของโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานการดูแลตนเองขณะเป็นโรคให้ผู้ป่วยและญาติในข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์หลังจากที่ได้สรุปปัญหาและปัจจัยในการปฏิบัติตัวต่างๆ ซึ่งจะให้ความรู้ในเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะเป็นโรคพยาธิสภาพของโรคการดำเนินของโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  2. ค่าวิทยากร เวลา 6 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 10 คน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวและดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อเนื่อง
3. สามารถนำรูปแบบกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบวิถีไทมาใช้กับผู้ป่วยเบาหวานได้


>