กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

1.นางหนูอั้น ไข่ทอง
2.นางอวยพร คงหมุน
3.นางศรีอมร ฉิ้มสังข์
4.นายอุทิศ คงทอง
5.นางปรีดา เทพชนะ

หมู่ที่ 1,7,9 ต.โคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ตำบลโคกชะงายมีผู้ป่วย จำนวน ๑๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๓๗๑.๔๗ /๑๐๐,๐๐๐ ประชากร สำหรับในพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ที่ ๑,๗,๙ ตำบลโคกชะงาย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปี ๒๕๕๗ จำนวน ๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๖๖.๒๖ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๕๘ จำนวน ๕ ราย

 

3.00

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้เป็นโรคที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงพบว่า (มกราคม – ธันวาคม๒๕๕๖๑)จังหวัดพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับที่ต้นๆของประเทศและอำเภอเมืองพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับที่ ๒ของจังหวัดพัทลุงมีจำนวนผู้ป่วย ๒๔๒รายโดยพบผู้ป่วยมากที่ตำบลพญาขันควนมะพร้าวเขาเจียกลำปำชัยบุรีท่ามิหรำส่วนตำบลโคกชะงายมีผู้ป่วยจำนวน๑๐รายคิดเป็นอัตราป่วย๓๗๑.๔๗ /๑๐๐,๐๐๐ประชากร สำหรับในพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ที่ ๑,๗,๙ตำบลโคกชะงายมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปี๒๕๕๙จำนวน ๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย๒๖๖.๒๖ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๖๐ จำนวน ๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๙๐.๔๐ ต่อแสนประชากร ปี๒๕๖๑มีผู้ป่วย๙รายคิดเป็นอัตราป่วย๓๓๔.๓๒ต่อแสนประชากรไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต (ข้อมูลระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพัทลุง) ขณะที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงกำหนดเป้าหมายอัตราป่วย๘๐ ต่อแสนประชากรจากการศึกษาการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก๓ปีย้อนหลังคาดว่าในปี ๒๕๖๒มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกขึ้นมาอีกดังนั้นในการควบคุมโรคไข้เลือดออกให้หยุดการระบาดได้นั้นต้องรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักตื่นตัวต้องตรวจสอบค้นหาแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบริเวณบ้านของตนเองต้องช่วยกันรับผิดชอบตัวเองครอบครัวและชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนหนาแน่น แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมักพบภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน และเป็นภาชนะที่มีน้ำขังได้ เช่น อ่างน้ำ โอ่งน้ำ แจกัน ยางรถยนต์จานรองขาตู้กับข้าว ฯลฯ ซึ่งการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทั่วไป องค์กรท้องถิ่นผู้นำชุมชนและประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือป้องกันไม่ให้ยุงกัดเพราะเนื่องจากยุงลายสวนสามารถนำโรคไข้เลือดออกได้ด้วยซึ่งสามารถป้องกันได้โดยทายากันยุงหรือสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด
ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจึงรวมพลังกันรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทุกหลังคาเรือนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

ร้อยละของหลังคาเรือนมีการที่มีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

626.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และมี ส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน

2154.00
3 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายต่อหลังคาเรือนไม่เกิน๑๐

ค่า CI ไม่เกิน 10

9.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/11/2018

กำหนดเสร็จ 30/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน59คนเป็นเงิน5,900 บ. 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 15 บาท จำนวน59คนเป็นเงิน1,770 บ. 3.ค่าวัสดุทรายอะเบทจำนวน 3ถัง ๆ ละ 4,500บาทเป็นเงิน13,500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกหลังคาเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ค่า CI = 9 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงน้อยกว่า 80/100000 ประชากร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21170.00

กิจกรรมที่ 2 2.ตรวจประเมินลูกน้ำยุงลายแบบไขว้ประเมินระหว่างตำบล

ชื่อกิจกรรม
2.ตรวจประเมินลูกน้ำยุงลายแบบไขว้ประเมินระหว่างตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินลูกน้ำยุงลายในตำบลใกล้เคียง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดความร่วมมือระหว่างตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2.ประชาชนส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านมีส่วนร่วมในการดำเนินป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนตลอดถึงประชาชนสามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจาก โรคไข้เลือดออกได้


>