กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์แบบบูรณาการ ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2

1.นางเบญจมาภรณ์ หลีเส็น
2.นางนฤมล โต๊ะหลัง
3.นายอำนวย เกศนี
4.นางอารีนี หมัดสะแหละ
5.นางสุกัญญา ลัสมาน

หมู่ 1 และ หมู่ 4 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงมีครรภ์ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์คุณภาพ

 

25.00

จากการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลสุขภาพตำบลบ้านควน ปี ๒๕๖๑ถึงแม้ผลงานตัวชี้วัดงานอนามัยแม่และเด็กจะผ่านเกณฑ์มาตรฐานแต่ยังพบว่า ปัญหาหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดซึ่งมีสาเหตุมาจาก การดูแลภาวะทุพโภชนาการและการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์ ปัญหาตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า ๒๐ ปีคลอดบุตรซึ่งกำลังตั้งครรภ์และคลอดในปีงบประมาณ๒๕๖๒ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยและไม่ได้คุมกำเนิดและปัญหาการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า๑๒ สัปดาห์ และการฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐานซึ่งมีล้วนมีสาเหตุมาจากการขาดความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์ การย้ายถิ่นฐานจากสภาพปัญหาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน และองค์กรในชุมชนทุกภาคส่วน ร่วมกันจัดทำโครงการโครงการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์แบบบูรณาการเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)

25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจปัญหาพื้นที่
2.จัดทำโครงการ
3.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อสม. ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการได้รับการอนุมัติ และเจ้าหน้าที่ อสม. ผู้นำชุมชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบปัญหาและร่วมแก้ไขปัญหาด้วยกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดบริการคลินิกฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการคลินิกฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ จำนวน 8 ป้ายๆละ 300 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2.จัดทำสมุดบันทึกการกินยาวิตามินเสริมธาตุเหล็กจำนวน 50 เล่มๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
3.จัดอบรมหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน1,000 บาท
4.มอบไข่ไก่ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาเสี่ยงคลอดบุตรนำ้หนักน้อยและมีภาวะซีด จำนวน 12 คนๆละ 3 แผงๆละ 100 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
5.จัดนิทรรศการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดแก่หญิงตั้งครรภ์ครอบครัวและประชาชนทั่วไปค่าวัสดุ/สื่อความรู้ในการจัดกิจกรรม เป็นเงิน 1,800 บาท
6.บริการติดตามเยี่ยมหลังคลอด ร่วมกับอาสาสมัครสาธาณสุขชุมชนโดยส่งเสริมให้ใช้สมุนไพรประคบเต้านมและน้ำขิงบำรุงร่างกายหลังคลอด

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด5ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด
ร้อยละหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์
ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,050.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดงานอนามัยแม่และเด็ก
2.หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม
3.เกิดเครือข่ายการดูแลมารดาและทารกหลังคลอด


>