กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเมนูชูสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุขหมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ

1. นางสาวอำภรณ์ หวันยาวา
2. นางสาวมาลี หมาดวัง
3. นางเพ็ญศรี นกดำ
4. นางนพเก้า สหะแก้ว
5. นางดารณี มนูญดาหวี

หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

45.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

 

60.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

60.00 65.00
2 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

45.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2018

กำหนดเสร็จ 30/04/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างจากโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างจากโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นักโภชนาการให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่อนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน (บริโภคอาหารเป็นยา)และออกแบบเมนูอาหารพื้นบ้านที่มีการใช้พืชผักพื้นบ้านในชุมชนมาทำเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมมอบสูตรอาหารเพื่อสุขภาพโดยอนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน
งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและวิทยากร 52 คน ๆ ละ 25 บาท
จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,600 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและวิทยากร 52 คน ๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ
เป็นเงิน 3,120 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน360 บาท 5. ค่าวัสดุการสาธิตทำอาหารเมนูชูสุขภาพ เป็นเงิน 2,000 บาท 7. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าพริ้นรูป )เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเอง อย่างน้อยร้อยละ 85
ผลลัพธ์ 1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาเมนูอาหารเป็นยาจากผักพื้นบ้าน มาปรับประยุกต์เพื่อประกอบเป็นอาหารในครัวเรือน 1 มื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12180.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเพื่อผลักดันเอาเมนูอาหารภูมิปัญญาของชาวบ้านและให้สามารถปรับใช้ภายในศูนย์

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่อผลักดันเอาเมนูอาหารภูมิปัญญาของชาวบ้านและให้สามารถปรับใช้ภายในศูนย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำเอาครู ศพด. ผอ.กองการศึกษา ผู้ประกอบการอาหารในโรงเรียน มาร่วมกันจัดทำข้อตกลงและจัดให้มีการนำเอาเมนูจากภูมิปัญญาชุมชน ทำอาหารเพื่อสุขภาพที่อนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยนำวัสดุในพื้นที่มาทำอาหารเพื่อสุขภาพ
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท 2.จัดทำคู่มืออาหารเพื่อสุขภาพจากภูมิปัญญาชุมชน จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.มีบันทึกข้อตกลงระหว่าง ศพด. ผอ.กองการศึกษา ในการจัดทำเมนูอาหารสำหรับนักเรียนศพด.โดยให้เมนูอาหารเพื่อสุขภาพจากภูมิปัญญาชุมชน ผลลัพธ์
1. ประชาชนในพื้นที่ได้ดูแลสุขภาพอนามัย โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ถูกหลักอนามัย อนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,930.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ได้ดูแลสุขภาพอนามัย โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ถูกหลักอนามัย อนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน
2. ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และอยู่ห่างไกลโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เกี่ยวเนื่องกับโภชนาการ


>