กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร

1.นางอุไร ยาเหล
2.นางสาวอนงค์ จันทร์เพ็ญ
3.นางสาวสุมินตราจันทร์เพ็ญ
4.นางบุญสม ยาเหล
5.นางรอบาจันทร์เพ็ญ

พื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านอุไร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

30.00
2 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

10.00

ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาหลักของสาธารณสุข ที่แนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้น โดยสาเหตุปัจจัยที่สำคัญส่วนใหญ่จากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งการบริโภคอาหารไขมันสูงพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งก่อให้เกิดโรคเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน โดยการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น

จากการตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุตั้งแต่ 20-50 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านอุไร พบว่า ประชาชนที่มีค่าดัชนีมวลกาย 25-29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 5 คน และมีค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 15 คน ซึ่งจากการสอบถามถึงพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มนี้พบว่าสาเหตุที่ทำให้มีน้ำหนักเกินมาตรฐานคือ1) การบริโภคอาหารไม่เหมาะสมชอบรับประทานอาหารประเภทแป้งอาหารไขมันสูงและขนมหวาน 2) ขาดการออกกำลังกาย เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุด้านปัจจัยนำ พบว่าประชาชนยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการลดความอ้วนโดยเชื่อว่าการลดน้ำหนักที่ได้ผลดีต้องอดอาหารและออกกำลังกายอย่างหนักจึงจะได้ผลซึ่งเคยพยายามลดความอ้วนมาแล้วแต่น้ำหนักไม่ลดทำให้ไม่มั่นใจว่าจะควบคุมน้ำหนักได้ ด้านปัจจัยเอื้อ พบว่าชอบซื้ออาหารถุงปรุงสำเร็จเนื่องจากสะดวก ซึ่งอาหารส่วนใหญ่มีไขมันสูง ส่วนด้านปัจจัยเสริมที่ทำให้มีแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายได้แก่ การกระตุ้นเตือนและแรงสนับสนุนจากเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิด

จากสภาพปัญหาดังกล่าวอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนหมู่ที่ 8 บ้านอุไร เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรค และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพซึ่งหากประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดีก็นับเป็นต้นทุนทรัพยากรที่เป็นกำลังสำคัญของชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน
  1. ประชาชนทั่วไป/ผู้ที่สนใจและกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนการออกกำลังกาย และการบริโภคอาหาร
  2. ประชาชนทั่วไป/ผู้ที่สนใจและกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน อย่างน้อยร้อยละ 50 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 70 เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
50.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
  1. อัตราโรคแทรกซ้อนของกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน มีอัตราลดลง
70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไป 30
แกนนำสุขภาพ 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งกลุ่มแกนนำสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งกลุ่มแกนนำสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • การจัดตั้งกลุ่มแกนนำสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เยาวชน ผู้สูงอายุ และชาวบ้านเป็นต้น
  • ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ
  • กลุ่มแกนนำสุขภาพ รณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ในชุมชนเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ และให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย

เป้าหมาย

  • แกนนำสุขภาพในชุมชน จำนวน 20 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มแกนนำ ในการรณรงค์ จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์การออกกำลังกาย จำนวน 2 ป้าย ขนาด 1.5x3.0 เมตร เป็นเงิน 1,350 บาท
  • ค่าเอกสารแผ่นผับให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกาย เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

รวมเป็นเงิน 6,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีกลุ่มแกนนำสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เยาวชน ผู้สูงอายุ และชาวบ้าน
  • มีแผนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1 ประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนดำเนินกิจกรรม โดยเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร หรือ 80 เซนติเมตรในเพศหญิง หรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

2 นัดตรวจหาระดับไขมันในร่างกาย ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย เพื่อเป็นมาตรฐานก่อนเริ่มโครงการ

3 ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมโครงการ ขอความร่วมมือในการปฏิบัติตัวที่จะต้องออกกำลังกายโดยการ เช่น เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน-วิ่ง ฟิสเนส เป็นต้น และการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก

4 ให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์ ข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย

5 ดำเนินการออกกำลังกายในชุมชน ตามความสนใจ

  • โดยการเต้นแอโรบิค เวลา 17.00-18.00 น. อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
  • ปั่นจักรยาน
  • เดิน วิ่ง และฟิตเนส เป็นต้น


    เป้าหมาย

  • ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ จำนวน 30 คน

  • ประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน จำนวน 20 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
  • ค่าอุปกรณ์สายวัดรอบเอวและที่วัดส่วนสูงติดผนัง เป็นเงิน 200 บาท
  • ค่าวงล้อประเมินสุขภาพ จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าจัดซื้อเครื่องขยายเสียง จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 20,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนทั่วไป/ผู้ที่สนใจและกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนการออกกำลังกาย และการบริโภคอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20125.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1 ประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการหลังดำเนินกิจกรรม

2 สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่า BMI ไม่ลด ดำเนินการ ดังนี้

  • นัดพบปะกลุ่มที่มีค่า BMI เกิน เพื่อประชุมถอดบทเรียน เสนอแนวคิด ผลลัพธ์หลากหลายด้านของรายบุคคลและกิจกรรม เป็นต้น
  • ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน
  • ติดตามผล อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง

เป้าหมาย

  • ประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน จำนวน 20 คน

งบประมาณ

  • ไม่ขอใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนทั่วไป/ผู้ที่สนใจและกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน อย่างน้อยร้อยละ 50 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 70 เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำเอกสารการนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าตอบแทนคณะทำงานในการนำเสนอโครงการ จำนวน 2 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,775.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดกลุ่มแกนนำสุขภาพในชุมชน ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขภาพ
2. ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้ออกกำลังกาย สามารถป้องกัน และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้
3. กลุ่มเป้าหมายที่มีค่า MBI เกิน สามารถลดและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้


>