กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

บวร รวมใจ สร้าง จิตอาสาวัยใส ใส่ใจผู้สูงอายุบ้านท่าข้ามปี 4

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

คณะกรรมการผู้สูงอายุ

1. โรงเรียนวัดท่าข้าม 2. ชุมชนหมู่ 3 บ้านท่าข้าม 3. รพ.สต.ท่าข้าม 4. อบต.ท่าข้าม 5. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุ หมายถึง ประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซึ่งสามารถแบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 2) ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ 3) ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ, 2015) สังคมสูงอายุเป็นสถานการณ์ที่โลกและหลายประเทศกำลังเผชิญซึ่งขณะนี้ประชากรโลกได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้วโดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 901 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมดภูมิภาคอาเซียนมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 55 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 9ส่วนในประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 16 ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มอาเซียนโดยไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือ 1 ใน 10 ของประชากรไทย เป็นประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและคาดว่าประเทศไทยจะเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” (Aged society) ในปี พ.ศ. 2564 และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ภายในปี พ.ศ. 2578 โดยประมาณการว่าจะมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรทั้งหมดซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนระดับที่รวดเร็วมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (อนันต์, 2560)
สืบเนื่องจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประจำปีการศึกษา 2558 ได้ริเริ่มจัดทำโครงการ “บวร” รวมใจสร้าง “จิตอาสาวัยใส ใส่ใจผู้สูงอายุ” บ้านท่าข้าม (ปีที่ 1) ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ โดยการส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนวัดท่าข้ามได้มีส่วนร่วมในการดูแลและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ สร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้เกิดทัศนคติที่ดี มีการเชิญพระคุณเจ้าจากวัดท่าข้ามมานำสวดเจริญพรเพื่อเสริมสร้างความสงบ สร้างสมาธิแก่ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมโครงการ มีการดูแลช่วยเหลือและติดตามภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุร่วมกับผู้นำชุมชนซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนสอดคล้องตามแนวคิด “บวร” ที่เป็นความร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนโดยได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนในชุมชนส่งผลให้มีการจัดโครงการสืบเนื่องมาตลอดในปีการศึกษา 2559 และ 2560
และในปีการศึกษา 2561 จากการทำประชาคมร่วมกับชุมชน ทางชุมชนมีความประสงค์ให้จัดโครงการอย่างต่อเนื่อง และทางโรงเรียนวัดท่าข้ามมีความสนใจและสนับสนุนให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบกับจากการสำรวจข้อมูลในชุมชน พบว่ายังมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่ยังขาดการดูแลอย่างทั่วถึง ทางคณะนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ปีการศึกษา 2561 จึงเล็งเห็นว่าปัญหาการดูแลผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ควรตระหนักและให้ความใส่ใจอย่างต่อเนื่อง จึงจัดทำโครงการ “บวร”รวมใจสร้าง “จิตอาสาวัยใส ใส่ใจผู้สูงอายุ” บ้านท่าข้ามปี 4 โดยทางโรงเรียนวัดท่าข้ามได้มุ่งเน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้กับเยาวชนโดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณและส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้ศักยภาพของตนเองในการดูแลและไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน ร่วมกับนักศึกษาพยาบาลและสนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างแท้จริง ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย และเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างผู้สูงอายุกับนักเรียนมากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1) เพื่อให้นักเรียนจิตอาสา มีความรู้/ทักษะเกี่ยวกับการนวดในผู้สูงอายุ การยกพยุงผู้ป่วยติดเตียง การออกกำลังกายแบบกายบริหารโดยทำด้วยตัวเอง Active exercise (สำหรับผู้สูงอายุติดบ้าน) กายบริหารโดยมีผู้อื่นทำให้ Passive exercise (สำหรับผู้ป่วยติดเตียง) และการอ่านบทความสุขภาพเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2) เพื่อให้นักเรียนจิตอาสา นำความรู้ที่ได้ไปใช้จริงในการดูแลผู้สูงอายุ
3) เพื่อให้ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารตามสภาวะโรค การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ การใช้ยา การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และสามารถประเมินภาวะโรคหลอดเลือดสมองในเบื้องต้น FAST track: stroke ได้ถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.สร้างจิตอาสา (จิตอาสา + อสม.) (โรงเรียนวัดท่าข้าม)

ชื่อกิจกรรม
1.สร้างจิตอาสา (จิตอาสา + อสม.) (โรงเรียนวัดท่าข้าม)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุสำนักงาน
ค่าน้ำมันรถ (6 เดือน × 300 บาท)
ของที่ระลึก อสม. (10 คน × 100 บาท)       1,200 1,800 1,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 2.ส่งเสริมจิตอาสาวัยใส (คณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับโรงเรียนวัดท่าข้าม)

ชื่อกิจกรรม
2.ส่งเสริมจิตอาสาวัยใส (คณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับโรงเรียนวัดท่าข้าม)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง
- นักเรียนจิตอาสา (26 คน)
- ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก (18 คน)
- บุคลากรโรงเรียนวัดท่าข้าม (11 คน)
(55 คน × 25 บาท)1375 บาท ค่าสมุดความดี (5 เล่ม × 30 บาท)150 บาท ค่าวัสดุสำนักงาน 385 บาท ค่าเอกสาร - ประเมินผลโครงการ150 บาท ค่าจัดทำเกียรติบัตร - สำหรับจิตอาสาวัยใส (26 คน ×15 บาท)390 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2450.00

กิจกรรมที่ 3 2.1 กิจกรรม “นวดผ่อนคลาย สบายจังเลย”

ชื่อกิจกรรม
2.1 กิจกรรม “นวดผ่อนคลาย สบายจังเลย”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำเอกสาร
- เรื่อง การนวดผ่อนคลาย
- แบบประเมินผลการนวด
นักเรียนจิตอาสา (26 คน)
ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก (18 คน)
(44 คน × 10 บาท)440 บาท ค่าน้ำมันนวดสมุนไพร (10 ขวด × 150 บาท)1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1940.00

กิจกรรมที่ 4 2.2 กิจกรรม “ขยับกาย สบายชีวี ดูดีสมวัย”

ชื่อกิจกรรม
2.2 กิจกรรม “ขยับกาย สบายชีวี ดูดีสมวัย”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำโปสเตอร์ - เรื่อง การออกกำลังกายด้วยตนเอง
(12 ใบ X 35 บาท)420 บ. - เรื่อง การออกกำลังการในผู้ป่วยติดเตียง (6 ใบ X 35 บาท) 210 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
630.00

กิจกรรมที่ 5 2.3 กิจกรรม “อ่านอย่างเบิกบาน สำราญเพื่อสุขภาพ”

ชื่อกิจกรรม
2.3 กิจกรรม “อ่านอย่างเบิกบาน สำราญเพื่อสุขภาพ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอ่านสำหรับนักเรียน
- เรื่อง สรรพคุณของกระเทียม - เรื่อง สรรพคุณของขี้เหล็ก - เรื่อง สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า - เรื่อง น้ำมะตูม
- เกณฑ์การประเมินการอ่าน


ค่าตอบแทนกรรมการตัดสิน (3 คน × 600 บาท)  1800 บ. ค่าจัดทำเกียรติบัตร - สำหรับนักเรียนที่ชนะการประกวดในแต่ละระดับชั้น   (4 คน × 15 บาท)       60บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1980.00

กิจกรรมที่ 6 3. มหกรรมสุขภาพ (คณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับชุมชน)

ชื่อกิจกรรม
3. มหกรรมสุขภาพ (คณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับชุมชน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน
- ผู้เข้าร่วมโครงการ (50 คน)
- ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก (30 คน)
- บุคลากรโรงเรียนวัดท่าข้าม (5 คน)
- บุคลากรหน่วยงานราชการ (15 คน) (100 คน x 75 บาท)
ค่าอาหารว่าง
- ผู้เข้าร่วมโครงการ (50 คน)
- ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก (30 คน)
- บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนวัดท่าข้าม (40 คน) - บุคลากรหน่วยงานราชการ (15 คน) (135 คน x 25 บาท )
ค่าจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์
- ขนาด 230×300 cm. (1 ผืน × 1,000 บาท) - ขนาด 150×200 cm. (2 ผืน × 500 บาท)
ค่าเอกสาร - ประเมินผลโครงการ - ส่งมอบงาน ค่าวัสดุสำนักงาน
ค่าชุดสังฆทาน 3.1 กิจกรรม “นวดผ่อนคลาย สบายจังเลย
-- ค่าเอกสารจัดบอร์ดให้ความรู้      100 บ. 3.2 กิจกรรม “ขยับกาย สบายชีวี ดูดีสมวัย ค่าจัดทำไวนิลให้ความรู้ ขนาด 90 * 124 cm - เรื่อง การออกกำลังกายด้วยตนเอง
  (1 ใบ × 500 บาท)
- เรื่อง การออกกำลังการในผู้ป่วยติดเตียง
  (1 ใบ × 500 บาท)
3.3 กิจกรรม “หรอยจังฮู้ เมนูพื้นบ้านต้านโรค ค่าวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารและเครื่องดื่ม
ค่าวัสดุอุปกรณ์ภาชนะ

ค่าจัดทำโปสเตอร์ให้ความรู้ - เรื่อง กินพิชิตโรคความดันโลหิตสูง
- เรื่อง อาหารแลกเปลี่ยนลดน้ำตาล
- เรื่อง ธงโภชนาการผู้สูงอายุ
ค่าจัดทำแผ่นพับให้ความรู้ (ผู้ร่วมโครงการและผู้ดูแล) - เรื่อง อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
- เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
3.4 กิจกรรม “ตาจ้ะ ยายจ๋า อย่าลดยาทานเอง” ค่าไวนิลความแตกต่างระหว่างยาฆ่าเชื้อ และยาแก้อักเสบ 90 * 124 cm             500 บ.
ค่าจัดทำตัวอย่างนวัตกรรมการจัดยาสำหรับรับ ประทานในแต่ละวัน (3 วัน) 200 บ. - ขวดพลาสติกใส่ยา
- ถุงซิปล็อค
3.5 กิจกรรม “ใช้ส้วมปลอดภัย ห่วงใยผู้สูงอายุ” ค่าตัวอย่างนวัตกรรมการส้วมสำหรับผู้สูงอายุ   2000 บาท 3.6 กิจกรรมอำลา “คล้องแขน คล้องใจ สร้างสายใยรักผูกพัน” ค่าดอกไม้ใบเตย 200 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนจิตอาสามีความรู้เรื่องการนวดผ่อนคลาย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุรายเยี่ยมได้ถูกต้อง เหมาะสม
2. นักเรียนจิตอาสามีความรู้เรื่องการยกพยุงผู้ป่วยติดเตียง การออกกำลังกายแบบ Active exercise (สำหรับผู้สูงอายุติดบ้าน) และแบบ Passive exercise (สำหรับผู้ป่วยติดเตียง) และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
3. ส่งเสริมการอ่านให้กับนักเรียนจิตอาสา
4. ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 40 คนได้รับการประเมินสุขภาพเบื้องต้น
5. ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 40 คน สามารถนำความรู้ที่ได้รับ เกี่ยวกับ การรับประทานอาหารตามโรค การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ การใช้ยา การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และสามารถประเมินภาวะโรคหลอดเลือดสมองในเบื้องต้น FAST track: stroke ได้ถูกต้อง
6. สมาชิกในชุมชนให้ความสำคัญกับการดูแลใส่ใจผู้สูงอายุในชุมชนมากขึ้น


>