กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุทอง

ตำบลบางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ด้วยรัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาํารณสุขดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริม เครื่องสำอางในร้านชำและการรณรงค์ลดการใช้โฟมในร้านอาหารแผงลอยในชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชนหรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ที่ไม่ได้คุณภาพมาตราฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพในคลื่นวิทยุชุมชนร่วมด้วย ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเหลือโฆษณาดังกล่าวนอกจากนี้ยังมีด้านอาหารปลอดภัย ซึ่งถือว่าอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ทุกกระบวนการฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม เฝ้าระวัง สุขภาพของผู้บริโภคจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนปี 2562 ขึ้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมและยังเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อไป ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนด้วยพลังของคนในชุมชนเองจึงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวัง การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายในชุมชนให้ได้มารตฐาน สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชนและปัญหา การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ห้ามจำหน่ายในร้านค้า ร้อนชำ ลดลง

ร้อยละ 100 ร้านอาหาร ร้านแผงลอยในพื้นที่เป้าหมายผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง ปลอดภัย ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้เกี่ยวกับเีื่องสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางมีความรู้เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการมีความรู้เกี่ยวกับเีื่องสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางมีความรู้เพิ่มขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย 2.ชี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 3.จัดทำโครงการเสนอเพื่ออนุมัติโครงการ 4.อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร
5.กิจกรรมตรวจเยี่ยมและประเมินร้านค้า ร้านอาหาร 6.กิจกรรมตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดย อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 7.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้านอาหาร แผงลอย ในพื้นที่เป้าหมาย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง
2. ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยอันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง
3. อัตราการป่วยด้วยโรคระบาด/โรคติดต่อทางอาหารและนำ้ที่รุนแรงในพื้นที่ลดลง
4. ประชาชนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ


>