กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักลูกผูกรักด้วยวัคซีน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

1. นายสมภพ สุวรรณชมภู
2. นางสาวอามีเนาะ สาและ
3. นางสาวซากียะห์ แวดาโอะ
4. นางสาวเจะมาสนี เจะและ
5. นางสาวฟาตีฮะ บือราเฮง

ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

 

90.00
2 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

 

80.00

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิตมนุษย์ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการ เจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมาก ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อวัยวะที่เจริญมากที่สุดในระยะนี้ คือ สมอง ฉะนั้นหากการเจริญเติบโตระยะนี้ผิดปกติ จะมีปัญหาทางด้านร่างกายและสติปัญญา ซึ่งสามารถแก้ไขได้น้อยหรือไม่ได้เลยในระยะต่อมา นอกจากนี้วัยนี้มีอัตราการตายสูงกว่าวัยอื่นเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อมากกว่าวัยอื่น เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดีและภูมิคุ้มกันโรคบางอย่างไม่สามารถถ่ายทอดจากแม่ได้ และยังเป็นวัยที่เริ่มมีการพัฒนาทางบุคลิกภาพ ที่สำคัญอันจะเป็นรากฐานของบุคลิกภาพที่ดีต่อไปในอนาคตฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลสุขภาพของเด็กวัยนี้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
จากนโยบายของรัฐาบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 10 แผนพัฒนาด้านสาธารณสุข มีเป้าหมายให้เด็ก 0-5 ปี ต้องได้รับการประเมินพัฒนาการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ได้รับการชั่งน้ำหนักร้อยละ 100 และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10 ได้รับการฉีดวัคซีนเป้าหมายครบตามเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 และไม่เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนจากการดำเนินงาน ในปีที่ผ่านมาจังหวัดปัตตานีพบเด็กเป็นโรคที่เกิดจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ และไอกรน ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคที่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งนั่นหมายถึงว่ายังมีเด็กอีกหลายคนที่ยังไม่รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคได้ตลอดเวลา อาจเนื่องมาจากการขาดความตระหนัก ไม่ให้ความสำคัญในการฉีดวัคซีน ขาดความรู็ความเข้าใจในเรื่องของการดูแลเด็ก ภาวะโภชนาการ และพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี จากปัญหาดังกล่าวถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบในระยะยาวทั้งต่อตัวเด็ก ชุมชน และประเทศชาติในอนาคตต่อไป ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านท่ากูโบ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี จึงได้จัดทำโครงการขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กได้รับการประเมินพัฒนาการ

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อให้เด็กได้รับการชั่งน้ำหนักและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100 ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 10

90.00
3 เพื่อให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนเป้าหมายครบตามเกณฑ์

ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 90

90.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กอายุ ๐-๕ ปี มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ไดัรับไปดูแลบุตรได้อย่างเหมาะสม

ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 90

90.00
5 เพื่อให้เด็กอายุ ๐-๕ ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพจิตดีและพัฒนาการสมวัย

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 122
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการรักลูกผูกรักด้วยวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
โครงการรักลูกผูกรักด้วยวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับการส่งเสริมและดูแลสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,050.00 บาท

หมายเหตุ :
1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับการส่งเสริมและดูแลสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี
1.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับการส่งเสริมและดูแลสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี (วันที่ 1)
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน*7 ชั่วโมง*600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 122 คน*1 มื้อ*50 บาท เป็นเงิน 6,100 บาท
- ค่าอาหารว่าง 122 คน*2 มื้อ*25 บาท เป็นเงิน 6,100 บาท
- ค่าวัสดุ เป็นเงิน 3,055 บาท
- ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5*3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ขนาด 1.5*3 เมตร จำนวน 4 ผืนๆละ 750 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
1.2 จัดประกวดสุขภาพเด็กดี (วันที่ 2)
- ค่าตอบแทนวิทยากร 7 คนๆละ 600 บาท*1 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 87 คน*2 มื้อ*25 บาท เป็นเงิน 4,350 บาท
- ค่าอาหารว่าง 87 คน*1 มื้อ*50 บาท เป็นเงิน 4,350 บาท
- ค่าวัสดุ เป็นเงิน 3,945 บาท
1.3 จัดกลุ่มเด็กที่เข้าประกวด เป็น 2 กลุ่ม
รางวัลที่ 1 จำนวน 2 รางวัลๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
รางวัลที่ 2 จำนวน 2 รางวัลๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
รางวัลที่ 3 จำนวน 2 รางวัลๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปดูแลสุขภาพเด็กให้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย เช่น การดูแลสุขภาพร่างกาย เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆ การดูแลให้เด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ การชั่งน้ำหนักตามงวด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ การฉีดวัคซีนเป้าหมายตามเกณฑ์และการส่งเสริมด้านสุขภาพจิต เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกาย จิตใจแข็งแรงสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เพื่อพัฒนาเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นพลังสำคัญของชาติในอนาคตต่อไป


>