กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดบริการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ รพ.สต.ปุโละปุโย

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดบริการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ รพ.สต.ปุโละปุโย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

1. นายมะกอเซ็ง เจะแต
2. นางสาวปาตีเมาะ ดือราแมหะยี
3. นางสาวสุไรนี ดือราแม
4. นายซูเปียน มะมิง
5. นางสาวอามีเนาะ ยีเจ๊ะอาแว
6. นางสาวนูรฮายาตี มัณฑนา

ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคนพิการ

 

60.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ

 

60.00

จากการสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย มีผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพครอบครัว พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ ยังมีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพื่อลดปัญหาแผลกดทับ การดูแลฟื้นฟูผู้พิการให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติซึ่งถ้ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากยิ่งขึ้น ทั้งที่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยขาดความรู้ หมดกำลังใจ ท้อแท้ผู้ดูแลขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือชุมชนขาดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู และจากข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้พิการที่ถูกส่งตัวกลับมารักษาตัวต่อที่บ้านจากโรงพยาบาล จึงมักเกิดปัญหาว่ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ผู้พิการเกิดความพิการมากขึ้น เกิดแผลกดทับมากขึ้นต้องเสียเงิน เสียเวลา พากลับไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลเหมือนเดิมดังนั้น ถ้าหากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีระบบการดูแลผู้ป่วยเหล่านั้นที่ได้มาตรฐาน และครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้ เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น
เนื่องจาก รพ.สต.ปุโละปุโย มีเครื่องกายภาพบำบัดซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ศอ.บต.ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือประกอบการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยเหล่านั้น จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง สามารถฟื้นฟูสภาพให้หายหรือทุเลาจากการเจ็บป่วย รวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อลดความพิการหรือทุพพลภาพ และให้ผู้ดูแลมีความรู้ ทักษะในการดูแลผู้ป่วย ให้เกิดกระบวนการพัฒนาการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ให้ที่มีความมั่นคง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดระบบบริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการได้เข้าถึงบริการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ ในสถานบริการสาธารณสุขและในชุมชน ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นภาระแก่ครอบครัวให้น้อยที่สุด

ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ ได้รับการดูแล ร้อยละ ๑๐๐

100.00
2 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ เรื่องการดูแลสุขภาพกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ผู้ดูแลและผู้พิการมีความรู้ความสามารถในการดูแลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการอบรมร้อยละ ๘๐

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 65
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สำหรับอบรมให้ความรู้ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการจัดบริการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ รพ.สต.ปุโละปุโย

ชื่อกิจกรรม
โครงการจัดบริการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ รพ.สต.ปุโละปุโย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ประชาสัมพันธ์โครงการ ๒. จัดอบรมให้ความรู้ การฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการและผู้ป่วย Palliative Care
- กลุ่มผู้พิการ จำนวน ๕๖ คน - กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และ Palliative Care จำนวน ๑๐ คน ๓. ให้บริการกายภาพบำบัดดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการและผู้ป่วย Palliative Care
๔. ค่าวัสดุอุปกรณ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
- ค่าป้าย ขนาด 1.2*3 เมตร ราคาป้ายละ 720 บาท จำนวน 3 ป้าย เป็นเงิน 2,160 บาท
2. จัดอบรมให้ความรู้ การฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการและผู้ป่วย Palliative Care กลุ่มผู้พิการ จำนวน 56 คน กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และ Palliative Care จำนวน 10 คน
- ค่าวิทยากร 1 คน*7 ชั่วโมง*600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ*มื้อละ 50 บาท*66 คน เป็นเงิน 3,300 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ*มื้อละ 25 บาท*66 คน เป็นเงิน 3,300 บาท
3. ให้บริการกายภาพบำบัดดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการและผู้ป่วย Palliative Care
- ค่าตอบแทนนักกายภาพบำบัด จำนวน 1 คน*วันละ 600 บาท*55 วัน เป็นเงิน 33,000 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 4,040 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ ได้รับการดูแล ร้อยละ ๑๐๐
๒. ผู้ดูแลมีความรู้ความสามารถในการดูแลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการอบรมร้อยละ ๘๐


>