กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุโละปุโย

1. นางสาวแอเสาะ ดอเลาะ
2. นางสาววีนัส สาเระ
3. นางสาวสารีฮา กาเดร์
4. นางสาวนูรีดา ลาเตะ
5. นางลีเยาะ ดอนิ

ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

40.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

50.00

โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร สภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทำให้มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตประจำวัน มีการเร่งรีบ มีการแข่งขันในการทำงาน ส่งผลถึงการบริโภคอาหารสำเร็จรูป อาหารถุง มีรถเร่ขายอาหารถุง ประกอบกับปัจจุบันมีร้านค้าสะดวกซื้อในชุมชนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัญหาสุขภาพเปลี่่ยนแปลงไปและก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมา
จากการคัดกรองความดันโลหิตสูงอำเภอหนองจิก ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑ พบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ๒๓.๐๔, ๒๖.๗๘ และ ๒๕.๖๙ ตามลำดับ พบกลุ่มป่วยรายใหม่ ร้อยละ ๑.๗๙, ๑.๔๒ และ ๓.๒๕ ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นจะเป็นได้ว่าทั้งกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นทุกปี
สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน ๙ หมู่บ้าน จากการคัดกรองความดันโลหิตสูง ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑ พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน ร้อยละ ๒๒.๑๓, ๓๑.๐๔ และ ๓๐.๗๒ ป่วยรายใหม่ ร้อยละ ๑.๐๒, ๐.๙๘ และ ๓.๓๓ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ประชาชนเกิดความตระหนัก สามารถสร้างกระแสในการดูแลสุขภาพ ลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพส่งผลให้ประชาชนห่างไกลโรค สุขภาพดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

90.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สมัครเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโยได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สมัครเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโย เข้าร่วมอบรมและได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ ๑๐๐

100.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวานป่วยรายใหม่น้อยกว่า ร้อยละ ๕

5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโย

ชื่อกิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโย
  2. อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงสูงความดันโลหิตสูง เบาหวาน โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโย
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1. อบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโย
- ค่าอาหารว่างอบรม อสม. จำนวน 65 คน*2 มื้อ*25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน อบรม อสม. จำนวน 65 คน*1 มื้อ*50 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
- ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 1 คน*7 ชั่วโมง*600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
2. อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงสูงความดันโลหิตสูง เบาหวาน โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโย
- ค่าอาหารว่างอบรมกลุ่มเสี่ยงสูงความดัน เบาหวาน จำนวน 100 คน*2 มื้อ *25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวันอบรมกลุ่มเสี่ยงสูง ความดัน เบาหวาน จำนวน 100 คน*1 มื้อ*50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 1 คน*7ชั่วโมง*600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 100 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในพื้นที่ได้รับการคัดกรองความดัน เบาหวาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
3. อัตราป่วยในกลุ่มเสี่ยงสูงที่สมัครเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ๒ส ตำบลปุโละปุโยป่วยใหม่ลดลง


>