กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านไสใหญ่

1. นางสาวสุขศิริ ไตรสกุล
2. นางสาวจิรารักษ์ แก้วกุก
3. นางกมล หวันตาหลา
4. นายประวิทย์ จิตต์หลัง
5. นางสาวเบญจมาศ สาจิ

โรงเรียนบ้านไสใหญ่ ตำบลกำแพงอำเภอละงูจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไป สู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในปี 2561 เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่จำนวน 138 คน พบเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 7.9 เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ (ท้วมเริ่มอ้วนและอ้วน)จำนวน27 คน คิดเป็นร้อยละ 19.42นอกจากนี้ยังมีเด็กที่ไม่กินผัก จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 14.38และเด็กที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก จำนวน 20 คนคิดเป็นร้อยละ 14.38 ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานศึกษา และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้วย

จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านไสใหญ่จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่” เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็กและติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ส่งเสริมเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ ทางด้านสติปัญญาด้วย สนาม BBL โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาภาวะโภชนาการ
  1. ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก
100.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก และส่งเสริมให้เด็กรับประทานผักและผลไม้
  1. ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก
  2. เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ และไม่กินผัก มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80
80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด
  1. ร้อยละ 100 เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์,เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด
  2. เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
  3. เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
  4. เด็กที่มีความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไขร้อยละ 100
80.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กและส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
  1. เด็กร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาและรักการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

  2. โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมแผนการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play

80.00
5 ข้อที่ 5 เพื่อป้องกันและลดอัตราปัญหาสุขภาพอนามัย และสุขภาพช่องปากของนักเรียน
  1. เด็กนักเรียนร้อยละ 80 รู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและโรคฟันผุลดลง
  2. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพและสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 139
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู 9
ผู้ปกครองเด็ก 38
แม่ครัว 1

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

2.1 ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก แก่ ครู ผู้ปกครอง แม่ครัว

2.2 สอน/สาธิต การทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ได้แก่

  • ผักกร๊อบกรอบ

  • สมู๊ทตี้ผัก-ผลไม้

  • สลัดผัก

  • แซนวิส

โดยการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง เด็ก สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ

2.3 ติดตามผลการบริโภคผักของเด็กไปยังผู้ปกครอง

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 187 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,675 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3.0 เมตร เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 187 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 5,610 บาท
  • ค่าจัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก จำนวน 187 เล่มๆละ 40 บาท เป็นเงิน 7,480 บาท

เมนูผักกร๊อบกรอบ - เมนูสมู๊ทตี้ผัก-ผลไม้

  • วัสดุในการทำอาหารเมนูผักกร๊อบกรอบเป็นเงิน 1,500 บาท
  • วัสดุในการทำอาหารเมนูสมู๊ทตี้ผัก-ผลไม้เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 77 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,925 บาท

สลัดผัก – แซนวิส

  • วัสดุในการทำอาหารเมนูสลัดผัก เป็นเงิน 1,000 บาท
  • วัสดุในการทำอาหารเมนูแซนวิส เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 77 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,925 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)

  • ครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก และสามารถทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กได้

ผลลัพธ์ (Outcome)

  • ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก
  • เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ และไม่กินผัก มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31490.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน 2-3 ครั้ง
  2. ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนักโภชนาการและครู

งบประมาณ

ไม่ขอใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)

  • เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม

ผลลัพธ์ (Outcome)

  • ร้อยละ 100 เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์,เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด
  • เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
  • เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
  • เด็กที่มีความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไขร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกาย และเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกาย และเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. สร้างลานตัวหนอนเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ หนอนน้อยนับเลข, หนอนน้อยเรียนรู้เลข และตารางกระโดด 9 ช่อง
  2. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ได้แก่ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เก็บขยะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

    งบประมาณ

1.ค่าวัสดุ

– อุปกรณ์การทำสนาม BBL

  • ค่าสีนำพลาสติก สีขาว6กระป๋องx 160 บาทเป็นเงิน 960 บาท
  • สีน้ำพลาสติกสีน้ำเงิน 6กระป๋อง x 180 บาทเป็นเงิน 1,080 บาท
  • สีน้ำพลาสติกสีแดง 6กระป๋อง x 180 บาทเป็นเงิน 1,080 บาท
  • สีน้ำพลาสติกสีเหลือง 6กระป๋อง x 180บาทเป็นเงิน 1,080 บาท
  • สีน้ำพลาสติกสีเขียว 6 กระป๋อง x 180 บาทเป็นเงิน 1,080 บาท
  • แลกเกอร์เคลือบเงา 2 แกลลอน 350 บาทเป็นเงิน 700บาท
  • แปรงทาสี 15 อัน x 40บาท เป็นเงิน 600บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)

  • โรงเรียนบ้านไสใหญ่มีลานตัวหนอนเพื่อการเรียนรู้และส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน

ผลลัพธ์ (Outcome)

  • เด็กร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาและรักการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
  • โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมแผนการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6580.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพโดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้ 3 ฐานและคัดเลือกแกนนำนักเรียนหรือสารวัตรนักเรียน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสุขภาพของนักเรียนเบื้องต้น รายงานครูผู้รับผิดชอบ
  2. อบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ สำหรับเด็กวัยเรียน หลักสูตร 1 วัน พร้อมทั้งสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่นักเรียน
  3. รณรงค์ให้นักเรียนทุกคน แปรงฟันหลังอาหารทุกวัน โดยแกนนำนักเรียนสอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่นักเรียนในโรงเรียน
  4. บันทึกการแปรงฟันและตรวจสอบโดยแกนนำนักเรียน
  5. กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครองมาให้คำปรึกษา แนะนำ
  6. กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากรุนแรง ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครอง เพื่อส่งต่อไปรับการรักษา

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าวัสดุ – อุปกรณ์ ที่ใช้ประกอบการอบรมให้ความรู้3 ฐาน ฐานละ 1,000บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์แปรงฟัน สำหรับการสาธิต จำนวน 139 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 5,560 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 139 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,475 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)

  • เด็กนักเรียนมีความรู้ด้านสุขภาพเรื่องทันตสุขภาพ โดยสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในช่องปาก

ผลลัพธ์ (Outcome)

  • เด็กนักเรียนร้อยละ 80 รู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและโรคฟันผุลดลง
  • เด็กที่มีปัญหาสุขภาพและสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14435.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 5-13 ปี
  2. บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ
  3. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ
  4. จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของแต่ละเมนูและโภชนาการสำหรับเด็ก

งบประมาณ

  • ค่าถ่ายเอกสารสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองจำนวน 139 ชุด ชุดละ25 บาทเป็นเงิน3,475 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)

  • เด็กนักเรียนได้รับการติดตามภาวะโภชนาการ

ผลลัพธ์ (Outcome)

  • ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านควนไสน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3475.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง
  2. จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 2 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  • มีรูปเล่มรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

ผลลัพธ์ (Outcome)

  • มีการต่อยอดโครงการและขยายโครงการสู่พื้นที่อื่นๆ

  • มีนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นและสามารถถ่ายทอดสู่หน่วยงานอื่นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,380.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการอย่างครอบคลุม
2. ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้และเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
3. เด็กที่มีปัญหาโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
4. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพอนามัยมีจำนวนลดลงและได้รับการรักษาที่ถูกวิธี


>