กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและ ป้องกันโรคไข้เลือดออกหมู่ที่ 6 บ้านหินเกลี้ยง ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

อสม.หมู่ที่6 บ้านหินเกลี้ยง

กลุ่มคน (ระบุ 5 คน) 1…นางติ้น ตรีรัตน์……
2…นางจุฑาทิพย์หนูคง………………
3…นางฉาย แก้วฉิมพลี………………

หมู่ที่6 บ้านหินเกลี้ยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาระดับชาติ มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง เกิดได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกๆปีจะมีผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือทันท่วงทีอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ และเมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการควบคุมและป้องกันโรคอย่างมหาศาล
จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี ของตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีรายงานอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนดมาตลอดตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปี 2560โดยพบผู้ป่วยในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2556 – ปี 2560 จำนวน 54 ราย 39 ราย ,15 ราย,44ราย และ 20 ราย ตามลำดับคิดเป็นอัตราป่วย 618.91 , 446.99, 171.92 , 537.1 และ 244.14 ต่อแสนประชากรตามลำดับ สำหรับการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2561 ( 1 ม.ค.- 31 ต.ค.2561 ) พบผู้ป่วยจำนวน 33 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 398.02ต่อแสนประชากร ซึ่งจากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคพบว่ารูปแบบการเกิดโรคของตำบลท่าข้ามจะเกิดปีเว้น 2 ปีซึ่งแนวโน้มปี 2562 จะเป็นปีที่เกิดการระบาดอีก ดังนั้นการใช้มาตรการในการควบคุมโรคอย่างจริงจัง จึงมีความจำเป็นมาก
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 6 บ้านหินเกลี้ยงตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาได้เล็งเห็นถึงปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อควบคุมโรคและลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ตลอดจนสร้างกระแสให้ภาคประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคตัวชี้วัดความสำเร็จ แกนนำชาวบ้านมีความรู้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

ข้อที่ 2เพื่อสร้างกระแสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนตัวชี้วัดความสำเร็จ ดัชนีความชุกของลูกน้ำในพื้นที่ลดลง

ข้อที่ 3 เพื่อป้องกันการระบาดของโรคตัวชี้วัดความสำเร็จ ไม่เกิดผู้ป่วยรายที่2 ในช่วง 14 วันนับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายที่ 1

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพแก่กลุ่มต่างๆในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพแก่กลุ่มต่างๆในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อยประชุมแกนนำหมู่บ้านและประชาชนให้มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกเพื่อเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม50คน25บาท2มื้อ 2 ครั้ง  เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน50คน75บาท2 ครั้งเป็นเงิน7,500 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 1คน2ชม.600 บาท2ครั้งเป็นเงิน2,400 บาท -ค่าป้ายโครงการ  500  บาท - ค่าวัสดุ  5,000 บาท 1.2 กิจกรรมย่อย สุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชนเดือนละ 2 ครั้ง - ค่าอาหารและเครื่องดื่มทีมตรวจ 5 คน80บาท15 ครั้งเป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์จำนวน 5ผืน500บาทเป็นเงิน 2,500 บาท 1.3 กิจกรรมย่อยลงควบคุมโรคเมื่อได้รับรายงานผู้ป่วย - ค่าอาหารและเครื่องดื่มทีมควบคุมโรค 5 คน80บาท*10 ครั้งเป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ชุมชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน ตลอดจนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่องส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยลดลงจากปีที่ผ่านมา


>