กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.บ้านหินเกลี้ยง ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

อสม.หมู่ที่ 6 บ้านหินเกลี้ยง

กลุ่มคน (ระบุ 5 คน) 1…นางจุฑาทิพย์หนูคง 2. นายประดิษฐ์จันอง………… 3นางเจิดจันทร์เพ็ชรจำรัส…………… 4…นางจีรพรยอดสุดเอื้อม………….. 5……………………………………………………..

หมู่ที่ 6 บ้านหินเกลี้ยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมโดยมีสาเหตุจากการกินอาหารที่มันจัดเค็มจัดหวานจัด รวมทั้งกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราการออกกกำลังกายที่ไม่เพียงพอทำให้ จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งพบได้ทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ คือโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 5 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 860.53 ส่วนโรคเบาหวานพบประมาณ 3 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 675.74 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2558) สำหรับตำบลท่าข้าม พบว่าโรคเรื้อรัง 2 อันดับโรคแรก คือโรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่สามารถทำให้อาการทุเลาลง ไม่ปรากฏอาการ หรือเข้าสู่ระยะสงบของโรคได้ อาจมีอาการกำเริบของโรค หรือมีอาการรุนแรงขึ้นอีกเป็นครั้งคราว และมักเกิดความพิการหรือรอยโรคหลงเหลืออยู่ จากการเปลี่ยนแปลงและทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกายอย่างช้าๆ และถาวร ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ต้องเผชิญกับความเครียดครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นระยะเวลายาวนานตลอดการดำรงชีวิตทำให้ไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งคุณภาพที่ดีทั้งของตนเองและครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข จึงกำหนดนโยบายให้ดำเนินการเฝ้าระวังควบคุมโรคโดยการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ต่อโรคดังกล่าว ในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ให้ครอบคลุมร้อยละ 90 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม ได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมป้องกันอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่พบภาวะเสี่ยงทุกราย โดยกำหนดตัวชี้วัดการเกิดโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 5 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ไม่เกินร้อยละ 10 และผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่องทุกรายซึ่งจากผลการดำเนินงานในปีในปี 2561 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน 2,703 คนคิดเป็นร้อยละ 73.41และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 2,237 คนคิดเป็นร้อยละ76.35 จากการคัดกรองพบกลุ่มปกติจำนวน 2,553คนคิดเป็นร้อยละ94.45 พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 1501 คนคิดเป็นร้อยละ 5.55 และพบกลุ่ม ความดันโลหิตปกติ1,610 คนคิดเป็นร้อยละ 71.98 พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 627 คน คิดเป็นร้อยละ 28.02 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6 บ้านหินเกลี้ยง ตำบลท่าข้าม ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่จำเป็นจะต้องดำเนินการโครงการเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 เพื่อค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตัวชี้วัดความสำเร็จ ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย
ข้อที่2สามารถดูแลให้คำแนะนำกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างเหมาะสมตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มเสี่ยง ได้รับการดูแล รักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-เครื่องวัดความดัน 2 เครื่อง2900 บาทเป็นเงิน 5,800 บาท -ค่าdextro strip 500ชิ้น18บาทเป็นเงิน9,000 บาท -ค่าเข็มเจาะปลายนิ้ว2กล่อง990บาทเป็นเงิน 1,980 บาท -ค่าสำลีแอลกอฮอล์ก้อน50แผง6บาทเป็นเงิน300บาท -ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด1เครื่องเป็นเงิน2100บาท -ค่าสายวัดรอบเอว 2ตลับ130บาทเป็นเงิน260 บาท -ค่ากระเป๋าเยี่ยมบ้าน 1ชุด450บาทเป็นเงิน450บาท -ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก 1 เครื่องเป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20790.00

กิจกรรมที่ 2 2 คัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
2 คัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

--ค่าอาหารและเครื่องดื่มทีมคัดกรอง80บ.X 10 คนX 2 ครั้ง  = 1,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

กิจกรรมที่ 3 3 ให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานจำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
3 ให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานจำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

าตอบแทนวิทยากร 600 บ.x 2 ชม. x 1 คนX 2 ครั้ง  เป็นเงิน 2,400 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  25 บ.x 30 คนX2 ครั้ง  เป็นเงิน 1,500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อและได้รับตรวจแนะนำและรักษาที่ถูกต้อง


>