กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคเท้าช้าง ปี ๒๕๖๒

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.หมู่ 5)

1.นางอารีซอ เจ๊ะสะนิ ประธานกรรมการ
2.นางนีซ๊ะ ฮะ กรรมการ
3.นางหม๊ะกลือซง สะมะแอ กรรมการ
4.นางนูไอด๊ะ มะ กรรมการ
5.นางสมจิตรจันทบดี กรรมการ
6.นางสายสุนีย์เพชรรงค์ เลขานุการ

ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ ๕ บ้านตาเซะเหนือ ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่นๆนั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและจากภาวะโรคร้อนอากาศแปรปรวนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคเท้าช้าง โรคสครัปไทฟัสโรคไข้เลือดออกโรคโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ ไข้มาลาเรียเป็นต้น และในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ หมู่ ๕ บ้านตาเซะเหนือได้รับการตรวจคัดกรองโรคเท้าช้างจากศูนย์ควบคุมโรคโดยแมลง ศูนย์พิกุลทอง พบผู้ป่วยเท้าช้างรายใหม่จำนวน๓ ราย และผู้มีภาวะเสี่ยงอีก ๓๐ ราย ในขณะเดียวกันการระบาดของโรคก็เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว และด้วยบริบทพื้นที่อยู่ติดป่าพรุโต๊ะแดงทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย นับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของคนของชุมชนอย่างมากจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน การเกิดและการระบาดของโรค ให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมโดยคนในครัวเรือนชุมชน ได้มีส่วนร่วม ในการควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุง ในบ้านและบริเวณบ้านของตนเองอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง สืบไปซึ่งจะนำไปสู่การปลอดภัยจากโรคและการมีสุขภาพดีต่อไป
ดังนั้น ชมรมอสม.หมู่ที่ ๕ บ้านตาเซะเหนือ รพ.สต.บ้านใหม่ตำบลสุไหงปาดีอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส ได้เล็งเห็นปัญหาของโรคเท้าช้าง จึงได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ในการควบคุมป้องกัน การเกิดโรคเท้าช้าง จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคเท้าช้าง ปี ๒๕๖๒ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคเท้าช้าง

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเท้าช้าง 90%

90.00 50.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

ประชาชนร่วมป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้าง อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง  90%

90.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2019

กำหนดเสร็จ 30/06/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเท้าช้าง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเท้าช้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเท้าช้าง ได้แก่ สถานการณ์การเกิดโรคความรู้เรื่องโรคเท้าช้างอาการการติดต่อ การดูแลเบื้องต้นผู้ป่วย การส่งต่อผู้ป่วยโรคเท้าช้าง และการป้องกันโรคความรู้เรื่องยุงวงจรชีวิตของยุง งบประมาณ ๑.ค่าอาหารว่างในโครงการฯจำนวน..๒ มื้อX ๒๕ บาทxจำนวน๖๐คน ๓,๐๐๐ บาท ๒.ค่าอาหารกลางวันจำนวน ๑ มื้อ ๆละ ๕๐ บาทจำนวน ๖๐ คน ๓,๐๐๐ บาท ๓.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ..๒...คนๆละ..๒...ชั่วโมงๆละ....๖๐๐... บาท ๒,๔๐๐ บาท ๔.ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ ในการจัดโครงการ ชุดละ๔๐ บาท จำนวน๖๐ ชุด ๒,๔๐๐ บาท ๕.ค่าไวนิล ขนาด..๑X๒เมตร ๗๒๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๑,๕๒๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ประชาชนป่วยด้วยโรคเท้าช้างมีจำนวนลดลง ๒.ประชาชนร่วมป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างอย่างสม่ำเสมอ  ต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11520.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคเท้าช้าง
๒.ประชาชนร่วมป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง


>