กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านลาคอ หมู่ที่ 2 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่สังคมวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้สมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางการรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้อย่างดีแต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่อยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่ ซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลงทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆที่ความรู้เหล่านี้สามารถ ช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยาสมุนไพร วิธีการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ สมุนไพร คือของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการสนับสนุนส่งเสริมการใช้สมุนไพรที่หาได้ง่ายในชุมชน เนื่องจากจะได้ไม่เกิดความยากลำบากในการจัดหาและจัดทำรวมถึงปลูกไว้ใช้เองในครัวเรือนควบคู่กับการทำพืชสวนชนิดอื่นๆ การส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรสมุนไพร และคุณประโยชน์ของสมุนไพรใกล้ตัวที่มีคุณค่ามากกว่าการใช้บริโภคเพียงอย่างเดียวจึงเกิดขึ้น การส่งเสริมสุขภาพประชาชนด้วยการพึ่งตนเองจึงเน้นการดูแลรักษาสุขภาพในเบื้องต้นก่อนโรคภัยไข้เจ็บจะมาถึงด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนถึงการแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชนประจำปีงบประมาณ2562

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนมีความรู้และทักษะในการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

ประชาชนภายในเขตตำบลตะบิ้ง ได้รับการฝึกอบรม 100 คน

0.00 1.00
2 ประชาชนมีความรู้ในการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

ประชาชนภายในเขตตำบลตะบิ้ง ได้รับการฝึกอบรม 100 คน

0.00 1.00
3 สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

ประชาชนภายในเขตตำบลตะบิ้งสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น 100 คน

1.00

เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการทำผลิตภันฑ์จากสมุนไพร เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช่สมุนไพรมากยิ่งขึ้น เพื่อลดภารค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/03/2019

กำหนดเสร็จ 06/03/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 80 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 1ุ2,800 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 25 บาท 4 มื้อเป็นเงิน 8,000 บาท
  3. ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1*3 เมตรเป็นเงิน 1,050 บาท
  4. ค่าวัสดุ เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์ จำนวน 80 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์ยาหม่องไพล,เอกสารประกอบการอบรมการผลิตภัณฑ์ลูกประคบ จำนวน 80 ชุดๆละ 50 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท
  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ยาหม่องไพลและการทำผลิตภัณฑ์ลูกประคบ เป็นเงิน 10,000 บาท
  7. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 7,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้และทักษะในการผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
2. ประชาชนมีความรู้ในการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
3. สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น


>