กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างเครือข่ายสายใย ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ ตำบลตะบิ้ง ประจำปีงบประมาณ 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเครือข่ายสายใย ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ ตำบลตะบิ้ง ประจำปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง หมู่ 3 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุขาดความรู้ในการดูแลตัวเอง

 

1.00
2 ส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

 

1.00

การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรโลก ทำให้สัดส่วนของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมหมายถึงบุคคลนั้นมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัวให้ดำรงอยู่อย่างปกติสุขตามศักยภาพแห่งตน ซึ่งการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตในสภาพปัจจุบันที่มีจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่สงบมีความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันกลายเป็นสังคมที่วุ่นวายแก่งแย่งแข่งกัน ชิงดีชิงเด่นนั้นที่รวดเร็วนั้นทำให้ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในสังคมที่เห็นได้ชัดเจน คือ กลุ่มผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นวัยที่พ้นจากวัยแรงงานจึงมักถูกทิ้งให้อยู่บ้านตามลำพังผู้สูงอายุหลายคนขาดความสุขทางจิตใจ เกิดเป็นโรคซึมเศร้า จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านสวัสดิการ ข้อที่ 3 คือ การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงการบริหารภาครัฐ ข้อ 3.3 การพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม ระบบการออมและระบบสวัสดิการชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการดูแลให้มีระบบการกู้ยืมที่เป็นธรรมและการสงเคราะห์ผู้ยากไร้อัตภาพ พัฒนาศักยภาพ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ จัดสวัสดิการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ สตรีและเด็ก และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 และกฎหมายได้กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล เช่น จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ เป็นต้น
เพื่อให้การดำเนินการตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง จึงมีความจำเป็นจะต้องเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ จึงได้จัดทำโครงการสายใย ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ ตำบลตะบิ้ง ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยให้มีจัดกิจกรรมให้ความรู้ในการดำเนินชีวิตและตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง ผู้นำชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยการกำหนดการออกเยี่ยมบ้านพร้อมทั้งมีการพูดคุยและตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านเพื่อสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุให้มีความรู้เรื่อง “การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บของผู้สูงอายุ’’

 

1.00
2 เพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกลุ่มผู้สูงอายุ

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความสุขอย่างยั่งยืนโดยใช้มิติทางศาสนา หล่อหลอมและฝึกฝนให้มีแนวทางการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข

 

0.00
4 เพื่อสร้างกำลังใจให้กับกลุ่มผู้สูงอายุเห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 150
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/04/2019

กำหนดเสร็จ 14/04/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนการเตรียมการ
- ร่วมกันประชุมวางแผน เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ขั้นตอนการดำเนินงาน - ประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายประชาสัมพันธ์ของ อบต. ผู้นำชุมชน เผยแพร่แนะนำ ชวนเชิญสมาชิกเพิ่มเติม - ดำเนินการบรรยายธรรม เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุ ได้ฟังเพื่อใช้ในการกล่อมเกลาจิตใจในชีวิตประจำวัน - ประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นตอนสรุปผลดำเนินการ
- สรุปผลโครงการ - รายงานผลโครงการ

วันที่ 5 เมษายน 2562 - ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท x 1 มื้อ x 90 คน (80x1x90) เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 90 คน (25x2x90) เป็นเงิน 4,500 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 1,050 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าเช่าเต็นท์,เก้าอี้, เครื่องเสียง เป็นเงิน 4,500 บาท รวมทั้งหมด 20,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20250.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมสร้างเครือข่าย สายใย ห่วงใย ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมสร้างเครือข่าย สายใย ห่วงใย ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมแกนนำผู้สูงอายุสร้างเครือข่าย กิจกรรมเตรียมความพร้อม - เสนอโครงการเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งพิจารณาอนุมัติ - ประสานงานติดต่อวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถด้านสุขภาพผู้สูงอายุและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม กำหนดกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมอบรมส่งเสริมพัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพจิต
- จัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ - ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจและประชาสัมพันธ์เชิญชวนมาร่วมโครงการและจัดตารางเวลา กำหนดการเนื้อหา หลักสูตรในการอบรม - จัดอบรมโครงการอบรมสร้างเครือข่ายสายใย ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ ตำบลตะบิ้ง ประจำปีงบประมาณ 2562 การติดตามและประเมินเพื่อติดตามและประเมินตามโครงการอบรมสร้างเครือข่ายสายใย ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ ตำบลตะบิ้ง ประจำปีงบประมาณ 2562 สรุปผลการดำเนินโครงการ วันที่ 13-14 เมษายน 2562 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพตนเองสำหรับผู้สูงอายุ การสร้างเครือข่ายสายใย ห่วงใยใส่ใจผู้สูงอายุ - ค่าอาหารกลางวัน 60 คนๆ ละ 80 บาท 2 มื้อ (60×80×2) เป็นเงิน 9,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คนๆ ละ 25 บาท 4 มื้อ (60×25×4) เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ผืน เป็นเงิน 1,050 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ผืน เป็นเงิน 4,774 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 10 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าเช่าเครื่องเสียง 1 ชุด เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าเช่าเต้นและเก้าอี้ เป็นเงิน 4,500 บาท รวมเป็นเงิน 35,424 บาท กิจกรรมย่อย เล่นเกม ออกกำลังกายฝึกสมาธิ - ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าของรางวัล เป็นเงิน 15,000 บาท รวมเป็นเงิน 19,000 บาท กิจกรรมเยี่ยมบ้าน เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 54,424 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54424.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 74,674.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้สูงอายุให้มีความรู้เรื่อง “การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บของผู้สูงอายุ’’
- ผู้สูงอายุมีความรัก ความสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
- ผู้สูงอายุ มีความสุขอย่างยั่งยืนโดยใช้มิติทางศาสนา สามารถหล่อหลอมและฝึกฝนให้มีแนวทางการดำเนินชีวิตที่เป็นสุขได้
- ผู้สูงอายุมีกำลังใจ เห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป


>