กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมอาหารและโภขนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ตะบิ้ง เพื่อพัฒนาการที่สมวัย ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมอาหารและโภขนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ตะบิ้ง เพื่อพัฒนาการที่สมวัย ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมอบต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะเด็กระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเด็กปฐมวัย เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กปฐมวัย ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไปพร้อมๆ กันโภชนาการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาของเด็กการรับประทานอาหารของเด็กในแต่ละมื้อจึงมีความสำคัญในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ป้องกันโรคดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีเพื่อให้มีสภาวะร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรงโภชนาการจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อสุขภาพเด็กที่มีการส่งเสริมพัฒนาด้านต่างๆ
องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ได้ตระหนึกถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ตะบิ้ง เพื่อพัฒนาการที่สมวัย ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของเด็กในการรับประทานอาหารที่ถูกต้องรวมถึงสัดส่วนของอาหารพอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย สามารถนำสารอาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีซึ่งเรียกว่า ภาวะโภชนาการที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

 

1.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาเด็กเรื่องพฤติกรรมดานบริโภคอาหารในเด็กปฐมวัย

 

1.00
3 เพื่อให้ผุ้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงภาวะโภชนาการที่เหมาะสม

 

1.00
4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะในการปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะโภชนาการ

 

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 140
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อม การดำเนินการ สรุปผลการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อม การดำเนินการ สรุปผลการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง
  2. จัดทำแผนงานโครงการ
  3. เตรียนมข้อมูล เอกสาร วัสดุปกรณ์ และสถานที่ ดำเนินการ

- จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง - เชิญเจ้าที่ รพ.สต. โรงพยยาบาลประจำอำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการ -จัดกิจกรรมบรรยาย สาธิต และฝึกปฎิบัติการประกอบอาหาร สรุปผลการดำเนินการ - สรุปผลโครงการ - รายงานผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การประกอบอาหารสำหรับเด็ก คุณค่าทางอาหาร พร้อมกับการสาธิตการประกอบอาหารขอเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การประกอบอาหารสำหรับเด็ก คุณค่าทางอาหาร พร้อมกับการสาธิตการประกอบอาหารขอเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ครูผู้ดูแลเด็กและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดเตรียมสถานที่สำหรับดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์และสิ่งสนับสนุน โครงการส่งเสริมอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาการที่สมวัย
  4. เชิญเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงพยาบาลประจำอำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการและชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
    4.1 กิจกรรมการบรรยายพิเศษโภชนาการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
    4.2กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารหลัก ๕ หมู่ การบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะถูกหลักอนามัยและตอบข้อซักถาม
    4.3กิจกรรมสาธิตขั้นตอนการเตรียมเมนูอาหารและปรุงอาหารเพื่อสุขภาพของเด็กปฐมวัยและ กิจกรรมกลุ่มฝึกปฏิบัติการปรุงอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
    . งบประมาณ

- ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท x 2 มื้อ x 170 คน 23,800 บาท - ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 4 มื้อ x 170คน 17,000 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ 10,500 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร 1,050 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 10 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท 6,000บาท รวมทั้งหมด 58,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด อบต.ตะบิ้งได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนถูกหลักด้านโภชนากาาร
3. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ตระหนัก ให้ความสำคัญด้านอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย
4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะสามารถปฏิบัติและปรุงอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้องตามโภชาการ


>