กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อชีวีมีสุข ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

มัสยิดบ้านกาปงบือแน

มัสยิดบ้านกาปงบือแน ม.6 ตำบลริโก๋อำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน 11.4 ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6 และกลุ่มอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 14.7 ตามลำดับ เป็นผู้ชายร้อยละ 40.5 และผู้หญิงร้อยละ 2.2 โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง 1.9 ล้านคนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน ร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2-3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมด ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง8 ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในระยะเวลา 3 ปี (ปี 2560-2562) จะดำเนินการเพื่อลดอัตราจำนวนประชากรผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จากปัจจุบันร้อยละ 19.9 ให้เหลือร้อยละ 16.7 และลดอัตราการรับควันบุหรี่มือสองให้เหลือร้อยละ 25
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ เล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไขจึงได้จัดทำโครงการ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อชีวีมีสุข ปี 2562 ขึ้น เนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ จะได้เกิดความตระหนักถึงโทษภัยของบุหรี่

 

150.00
2 เพื่อสร้างแรงจูงใจส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและผู้อยู่ใกล้เคียง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 31/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ลด ละ เลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ลด ละ เลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรม ให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงและ ผู้สูบบุหรี่ อบรม จำนวน 150 คน
  2. ดำเนินงานให้คำปรึกษา ลด ละ เลิกบุหรี่
  3. ประชาสัมพันธ์พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ ในมัสยิด

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลริโก๋ จำนวน26,300บาทรายละเอียดดังนี้ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 500 เป็นเงิน 3,000 บาท 2.อบรม ให้ความรู้ กลุ่มเสี่ยง และผู้สูบบุหรี่ 150 คน ในเดือนกรกฎาคม 2562 - อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท - อาหารกลางวัน จำนวน 150คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าวัสดุการอบรม จำนวน 150คนๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท 3.ไวนิลอบรมโครงการ จำนวน 1 แผ่นเป็นเงิน 800 บาท 4.ป้ายอะคริลิค มัสยิดปลอดบุหรี่ ขนาด 30 ซม.x 60 ซม. จำนวน 5 ชิ้นๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,300 บาท ( สองหมื่นหกพันสามร้อยบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษภัยบุหรี่ และปรับพฤติกรรมลด เลิกบุหรี่
2. ผู้ที่เข้ารับการอบรมกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นผู้สูบบุหรี่รายใหม่


>