กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต

-

รพ.สต.บูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

100.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

100.00

อุบัติการณ์โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney DeseaseCKD)และโรคไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาต่อเนื่องมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมากเมื่อเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal Diseaseซึ่งจำเป็นต้องรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis)ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย๒๕๐,๐๐๐บาทต่อคนต่อปีหรือการล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง (Continuous AmbulatoryPeritoneal Dialysis)ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย๒๐๐,๐๐๐บาทต่อคนต่อปีหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซึ่งขาดแคลนไต
จากข้อมูลของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยใน ปี พ.ศ. 2555 พบว่าโรคไตเรื้อรังมีสาเหตุจากโรคเบาหวานมากที่สุด (ร้อยละ 37.5) รองลงมาคือ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 25.6), โรคที่มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วทางเดินปัสสาวะ (ร้อยละ 4.3) และโรค chronic glomerulonephritis (ร้อยละ 2.4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความชุกของโรคไตเรื้อรังและนิ่วไตสูงมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ(https://ckd.kku.ac.th,14/10/59) และข้อมูลจากการการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคไต ระยะที่ 2 จำนวน 2 คนระยะที่ 3 จำนวน 11 คน ระยะที่ 4 จำนวน 9 คน และระยะที่ 5 จำนวน 5 คน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิตจึงได้จัดการทำโครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันโรคไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการดูแลรักษาและชะลอไม่ให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย โดยให้การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นอย่างมีคุณภาพอันจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายที่สูงของภาครัฐในการรักษาพยาบาลโรคไตวายระยะสุดท้าย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

100.00 100.00
2 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

100.00 100.00
3 1.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้/ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง และชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย

 

100.00 100.00
4 2.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแล/ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

 

100.00 100.00
5 3.เพื่อให้เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

 

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์ ติดต่อประสาน ประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ วิทยากร ผู้ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายและสถานที่

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ ติดต่อประสาน ประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ วิทยากร ผู้ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายและสถานที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างสำหรับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน x 25 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท

2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท

3.ค่าตอบแทนวิทยากร 5ชม. x 600บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

4.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2 เมตร เป็นเิงน 600

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และมีการใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,400.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม.

2.เขียนโครงการ / เสนอโครงการ/ ขออนุมัติโครงการ

3.ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย

4.ดำเนินงานตามโครงการ

5.ประเมินผล / สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ / ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะไตวายเรื้อรังและชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย

2.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแล / ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

3. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่ม ผู้ป่วยเบาหวาน


>