กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. ในผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านต้นไทร

1.นายสมศักดิ์ ปุรินทราภิบาลประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร
2.นางปรีดามืดมากรองประธานและผู้ประสานงานผู้สูงอายุหมู่ที่ 2
3.นางจำนงค์ หอยสกุลกรรมการและผู้ประสานงานผู้สูงอายุหมู่ที่ 4
4. นางสุรีรัตน์คงชู กรรมการและผู้ประสานงานผู้สูงอายุหมู่ที่ 7
5.นางหทัยพร ดำฝ้ายกรรมการและผู้ประสานงานผู้สูงอายุ หมู่ที่ 8
6.นางยุพาเกื้อสกุลกรรมการและผู้ประสานงานผู้สูงอายุ หมู่ที่ 9
7.นางสาวสุภาพรช่วยอนันต์ กรรมการและผู้ประสานงานผู้สุูงอายุ หมู่ที่ 11

ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน มีหมู่ที่ 2,4,5,7,8,9,11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพิ่มความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อผู้สูงอายุได้ถูกต้อง

 

2.00
2 ลดภาวะผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง

 

2.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น

 

2.00

ปัจจุบันผู้สูงอายุของประเทศไทย เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะประชากรผู้สูงอายุอันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมทั้งต่อตัวผู้สูงอายุ ครอบครัว และประเทศชาติ จากที่รัฐบาลมีนโยบายและมีการดำเนินงาน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตชองประชาชน เพื่อให้คนไทยมีความเข้มแข็ง มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ แต่ไม่สามารถไปรับการตรวจรักษาได้ทั่วถึงเพราะมีปัญหาและอุปสรรคในการคมนาคมและงบประมาณที่จะไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ฉะนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีสร้างสรรค์กิจกรรมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพสร้างสุขภาพให้กับตนเองเพื่อนสมาชิกชุมชนและสังคมด้วยคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นผู้สูงอายุ
ดังนั้นเพื่อ ให้การดำเนินงานการสร้างสุขภาพตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ.2ส.ในผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ ๒๕๖2

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวมีความรุู้ความเข้าใจช่วยเหลือปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อผู้สูงอายุได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจช่วยเหลือปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อผู้สูงอายุได้ถูกต้อง

2.00 480.00
2 ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพอย่างน้อยร้อยละ 80

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ

2.00 480.00
3 ผู้สูงอายุที่อยู่ภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลช่วยเหลือทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่อยู่ภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลช่วยเหลือทำกิจวัตรประจำวัน

2.00 38.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 600
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 90

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 04/04/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่อง "การดูแลสุขภาพตนเองในวัยผู้สูงอายุในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. และออกประเมินภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุท้ังหมด 7 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง "การดูแลสุขภาพตนเองในวัยผู้สูงอายุในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. และออกประเมินภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุท้ังหมด 7 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.00 น. อบรมผุู้สูงอายุ หมู่ที่ 2 ผู้สูงอายุจำนวน 90 คนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานผู้สูงอายุจำนวน 10 คน วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 - 16.30 น. อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 ผู้สูงอายุจำนวน 123 คนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานผู้สูงอายุจำนวน 18 คน วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.00 น. อบรมผุู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 ผู้สูงอายุจำนวน 77 คนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานผู้สูงอายุจำนวน 11 คน วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 - 16.30 น. อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 7 ผู้สูงอายุจำนวน 86 คนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานผู้สูงอายุจำนวน 14 คน วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.00 น. อบรมผุู้สูงอายุ หมู่ที่ 8 ผู้สูงอายุจำนวน 58 คนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานผู้สูงอายุจำนวน 8 คน วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 - 16.30 น. อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 9 ผู้สูงอายุจำนวน 64 คนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานผู้สูงอายุจำนวน 14 คน วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.00 น. อบรมผุู้สูงอายุ หมู่ที่ 11 ผู้สูงอายุจำนวน 102 คนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานผู้สูงอายุจำนวน 14 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้สูงอายุเข้าอบรมและรับการประเมินสุขภาพ จำนวน 600 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุท้ัง 7 หมู่บ้านและทีมวิทยากรจำนวน 90 คน รวมทั้งหมด 690 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 13,800 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองในวัยสูงอายุและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส. จำนวน 2 คนๆละ 7 วันๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท ค่าถ่ายเอกสารในการตรวจสุขภาพผุู้สูงอายุ (ใบประเมิน ADL ,ใบประเมินโรคหลอดเลือดสมอง , ใบประเมินข้อเสื่อมสมองเสื่อม,ใบประเมินการมองเห็น) จำนวน 600 คนๆละ 1 ชุดๆละ 3 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับความรุู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองในวัยผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพร้อยละ 80
ผู้สูงอายุพบผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน 600 คนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดูแล สุขภาพในวัยผู้สูงอายุได้ถูกต้อง
๒. ผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน600คน ได้รับการตรวจสุขภาพประเมินกิจวัตรประจำวัน อย่างน้อยร้อยละ 80 จำนวน 480 คน
๓. ผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ที่พบเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยน การดูแลและการส่งต่ออย่างถูกต้องตามระบบ ทุกคน


>