กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 อ 2 ส สร้างสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน.หมู่ที่13 บ้านไอร์กูเล็ง

1.นางเจ๊ะลีเย๊าะ เจ๊ะเต๊ะ
2 นางนาบีล๊ะดอเล๊าะ
3. นางปาตอหม๊ะบินดอเลาะ
4. นางสาวคอซีหม๊ะมะเซ็ง
5. นางสาวยาวารีมามะ

พื้นที่ หมู่ที่ 13 บ้านไอร์กูเล็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนบ้านไอร์กูเล็งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง ( คน )

 

90.00

ในแต่ละปีประเทศได้ใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพของประชาชนปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพป้องกันอุบัติภัยอันตรายต่างๆรวมทั้งป้องกันโรคติดเชื้อที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย นับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคล ปัจจุบันกระแสของการสร้างเสริมสุขภาพกำลังเป็นที่กล่าวถึงในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับสุขภาพได้ให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างมากเป็นประเด็นการเคลื่อนไหวทางสาธารณสุขที่สำคัญและถือได้ว่าเป็นจุดหักเหหรือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับกับสุขภาพจากจุดเน้นของการบริการแบบ “ตั้งรับ”หรือ “โรงซ่อมสุขภาพ” ซึ่งเน้นการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยแล้วมาเน้นการบริการ “เชิงรุก”หรือ“การสร้างเสริมสุขภาพ”ซึ่งเป็นการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันมิให้เกิดการเจ็บป่วย เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าระบบที่มุ่งการซ่อมสุขภาพเป็นระบบที่มีความสิ้นเปลืองต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง เกิดผลกระทบทั้งคนไข้และสังคมในส่วนของคนไข้นอกจากจะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลแล้วยังต้องสูญเสียรายได้เนื่องจากขาดงานแล้วอาจมีปัญหาสุขภาพจิต ในส่วนของสังคมส่วนรวมต้องแบกรับภาระความเจ็บป่วยเกินความจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้เจ็บป่วยพิการเสียทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าเสียโอกาสในการนำทรัพยากรไปใช้ในด้านต่างๆเนื่องจากต้องนำมาใช้ในการลงทุนสร้างระบบบริการเพื่อรองรับความเจ็บป่วยการทำให้สุขภาพดีจะทำให้ระบบเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรอรักษาและฟื้นฟูเมื่อสุขภาพเสียแล้วระบบสุขภาพจึงควรมุ่งเน้นที่การ“สร้างสุขภาพ” ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
จากการดำเนินงานด้านการสร้างสุขภาพในกลุ่ม อสม.ในเขตตำบลบูกิต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องมีภาวะอ้วนลงพุงชอบรับประมานอาหารหวานมันเค็มอีกทั้งไม่ได้ ออกกำลังกายและพบว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรคไขมันในเลือดโรคมะเร็งโรคหัวใจซึ่งบ่งบอกได้ว่ากลุ่มดังกล่าวขาดความรู้ด้านการดุแลสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อลดโรคและลดภาวะเสี่ยงต่างๆที่จะตามมา
ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก ๓อ๒ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน.หมู่ที่13บ้านไอร์กูเล็ง ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๓อ๒ส สร้างสุขภาพ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะ และพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

90.00 60.00
2 เพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน

ร้อยละ 50 ของประชาชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

90.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3อ2ส กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3อ2ส กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม -สำรวจและรวบรวมข้อมูล ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ต่อการเปนโรคเรื้อรัง และ ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3อ2ส กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
-จัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยสร้างสุขภาพต้นแบบเรื่องอาหาร ,การออกกำลังกาย งบประมาณ -ค่าวิทยากร 600 บาท x 3 ชม x 2 คน = 3,600บาท -ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 60 คน = 3,600บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 60 คน x 2 มื้อ= 3,000บาท ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 m.x 2.4 m. = 720บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชาชน สามารถปรับเปลี่ยนพฤตกรรมได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10920.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินติดตามจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประเมินติดตามจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม -ประเมินติดตามจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค จำนวน 1 ครั้ง -ประเมินสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ นำหนัก,ส่วนสูง,ค่า BMI , และรอบเอว
งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 60 คน x 1 มื้อ= 1,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดี  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,420.00 บาท

หมายเหตุ :
1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายเพิ่มและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
2 ประชุมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่รับทราบโครงการ
3 ประเมินสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ นำหนัก,ส่วนสูง,ค่า BMI , และรอบเอว
4 จัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยสร้างสุขภาพต้นแบบเรื่องอาหาร ,การออกำลังกาย ,
การจัดการกับความเครียด
5 กิจกรรมให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3อ2ส กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
6 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 1ครั้ง
-ประเมินติดตามจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค จำนวน 1 ครั้ง
-ประเมินสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ นำหนัก,ส่วนสูง,ค่า BMI , และรอบเอว
7 สรุปผลการดำเนินโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2 กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
3 กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และเกิดกระแสสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง


>