กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย

-

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00

โรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลกตายก่อนวัยอันควรและเป็นปัญหาที่กำลังมีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจใหม่ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูงจะไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการแสดงให้เห็นจึงมักถูกเรียกว่าเป็น “ฆาตกรเงียบ”(Silent killer)ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัวมาก่อนว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองตามมา
สถานการณ์ความดันโลหิตสูงในประเทศไทยจากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร100,000 คนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2556-2560)เพิ่มขึ้นจาก 12,342.14 เป็น 14,926.47 และจากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่าอัตราการป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร100,000 คนในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา(พ.ศ. 2558- 2560 )เพิ่มขึ้นจาก916.89 เป็น1,353.01
สำหรับสถานการณ์ความดันโลหิตสูงในอำเภอเจาะไอร้องจากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่าอัตราการป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.59 เป็นร้อยละ 4.70
จากสถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียจึงได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มการคัดกรองค้นหาและยืนยันการวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงจึงได้มีการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)เพื่อส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อลดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงอีกทั้งหากพบว่าป่วยจะได้รับการยืนยันการวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงและเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไปได้อย่างทันท่วงทีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองตามมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

60.00 100.00
2 เพื่อให้อสม.มีความรู้และมีสมรรถนะในการดำเนินการดูแลและติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้าน

ร้อยละ 80 ของอสม.มีสมรรถนะในการดูแลและติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้านอยู่ในระดับดี

60.00 100.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและตระหนักในการดูแลสุขภาพ

ร้อยละ80 อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

60.00 100.00
4 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ร้อยละ 80 อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติในกลุ่มอสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติในกลุ่มอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 34คนx 25บาทx 1มื้อ เป็นเงิน 850 บาท

2.ค่าวัสดุสำนักงาน 34คนx 50บาท เป็นเงิน 1,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2550.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1.2×2.4 ×1 แผ่น=720บาท

2.ค่าวิทยากร 2 คน×3ชม.×600 บาท =3, 600บาท

  1. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 60 คน×60บาท = 3,600บาท

  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน × 25 บาท×2 มื้อ = 3,000บาท

5.ค่าวัสดุสำนักงาน 60 คน×50บาท =3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13920.00

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการติดตามดูแลวัดความดันโลหิตที่บ้านโดยอสม.

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการติดตามดูแลวัดความดันโลหิตที่บ้านโดยอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,470.00 บาท

หมายเหตุ :
๑. ประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่รพ.สต.อสม.
๒. เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
๓. ประชาสัมพันธ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมายให้รับทราบ
๔. อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในกลุ่มอสม.เกี่ยวกับการดูแลและการติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้าน
๕. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)ในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง
๖. ดำเนินการติดตามดูแลวัดความดันโลหิตที่บ้านโดยอสม.
๗. ติดตามและประเมินผล
๘. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อสม.ในเขตพื้นที่บริการมีความรู้และมีสมรรถนะสามารถดำเนินการดูแลและติดตามกลุ่มสงสัยป่วย
ความดันโลหิตสูงที่บ้าน
๒. ประชากรกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพ
๓. กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันที่บ้าน
๔. ลดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง


>