กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมอาสามัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

1.นายสมศักดิ์ ปุรินทราภิบาล ประธานชมรม อสม. รพ.สต.บ้านต้นไทร
2.นางปรีดา มืดมาก รองประธานและผู้ประสานงานหมู่ที่ 2
3.นางจำนงค์ หอยสกุล กรรมการและผู้ประสานงานหมู่ที่ 4
4.นางสุรีรัตน์ คงชู กรรมการและผู้ประสานงานหมู่ที่ 7
5.นางหทัยพร ดำฝ้าย กรรมการและผู้ประสานงานหมู่ที่ 8
6.นางยุพา เกื้อสกุล กรรมการและผู้ประสานงานหมู่ที่ 9
7.นางสาวสุภาพร ช่วยอนันต์ กรรมการและผู้ประสานงานหมู่ที่ 11

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต

 

2.00
2 ประชาชนขาดทักษะการนำสมุนไพรในท้องถิ่นที่มามาประยุกต์ใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

 

2.00

พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัช กรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชนสนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
ซึ่งปัจจุบันจาการสำรวจปัญหาสุขภาพของประชาชนในตำบลนาโหนดพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต ยังขาดทักษะการนำสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีมาประยุกต์ใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ทางคณะผู้จัดทำจึงคิดค้นโครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในตำบลนาโหนด สามารถนำทักษะความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำ อสม. มีความรู้ในเรื่องสมุนไพรและนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับคนในชุมชนต่อไป

1.แกนนำอสม.มีความรู้ในเรื่องสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 80 2.ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของงานแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นอีกศาสตร์หนึ่งในการนำมาใช้ดูแลสุขภาพ

2.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำ อสม. และเจ้าหน้าที่ 95

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/07/2019

กำหนดเสร็จ 09/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมทำลูกประคบสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมทำลูกประคบสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมทำลูกประคบสมุนไพร -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 89 คน เจ้าหน้าที่และวิทยากรจำนวน 6 คน รวมทั้งหมด 95 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 20 บาท เป็นเงิน 3,800 บาท -ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 89 คน เจ้าหน้าที่และวิทยากรจำนวน 6 คน รวมทั้งหมด 95 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 4,750 บาท 2.ค่าอุปกรณ์ในการทำลูกประคบ -หัวไพล900 บาท -ขมิ้นชัน 750 บาท -ตะไคร้ 600บาท -มะกรูด 600บาท -ใบมะขาม 300 บาท -เกลือ600บาท -การบูร 750บาท -พิมเสน 1,500บาท -ผ้าดิบ2,000 บาท -เชือกผูกลูกประคบ 300บาท -ค่าบรรจุภัณฑ์และฉลากลูกประคบ 2,200บาท 3.ค่าสมุนไพรในการทำน้ำดื่มสมุนไพร -พุทราจีนแห้ง 600บาท -ดอกกระเจี๊ยบแห้ง 400บาท -น้ำตาล 200 บาท -แก้วพลาสติก 450บาท 4.ค่าตอบแทนวิทยาการ จำนวน 1 คนๆละ 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 5.ค่าถ่ายเอกสารสำหรับเอกสารให้ความรู้ จำนวน 95 ชุด ชุดละ 2 บาท เป็นเงิน 190 บาท 6.ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ป้าย ป้ายละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เขียนโครงการเสนอเพื่อขอรับงบสนับสนุน
2.จัดชี้แจงโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
3.จัดทำกิจกรรมตามโครงการ -อบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน -อบรมให้ความรู้การทำลูกประคบสมุนไพรและการใช้น้ำสมุนไพร -แลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่ม อสม .(ซัก-ถาม) -สอนการทำลูกประคบและลงมือปฏิบัติ 4.สรุปผลและติดตามผลการดำเนินงาน 5.ประเมินผลโครงการปีงบประมาณ 2562 เพื่อค้นหาปัญหาและดำเนินการแก้ไขในปีงบประมาณ 2563 ต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22890.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,890.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำอสม.มีความรู้ในเรื่องสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 80
2.ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของงานแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นอีกศาสตร์หนึ่งในการนำมาใช้ดูแลสุขภาพ


>