กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคคล และเจ้าหน้าที่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง(ADL<11 คะแนน)
- การพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมการก้าวสู่ “ผู้สูงอายุคุณภาพ”
- การนำศักยภาพผู้สูงอายุ เช่น การเล่านิทาน การปั้น การทำเครื่องเล่นพื้นบ้าน มาร่วมแก้ปัญหาสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การจัดระบบริการแบบใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนากิจกรรมและใช้หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุในมิติความร่วมมือชุมชนและศาสนา
- การปรับประยุกต์ใช้หลักสูตรด้านอาหารพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยหรือประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านเพื่อดูแลสุขภาพจิต อารมณ์ผู้สูงอายุ
- การจัดรูปแบบบริการเชิงรุกเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ เช่น คัดกรองตาต้อกระจก การมองเห็น เป็นต้น
- การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เช่น การใช้ภูมิปัญญาชุมชน ประเพณี เป็นต้น แก่กลุ่มและชมรมผู้สูงอายุ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
- การจัดบริการสาธารณสุขดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไม่จำกัดสิทธิของผู้สูงอายุ
- การจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ(Day care)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาระบบและกลไกระบบดูแลผู้สูงอายุ
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะแกนนำ อสม.เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์
- แกนนำ อสม.เฝ้าระวังสุขภาพและเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
- การจัดทำระบบข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน
- การร่วมกับชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ
label_important
วิธีการสำคัญ
- การมีนโยบายของ อปท.เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นสังคมผู้สูงอายุ(ใช้งบกองทุนสุขภาพตำบลไม่ได้ แต่สามารถเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนฟื้นฟูคนพิการ)
- การมีนโยบายสร้างความมั่นคงด้านการออมทรัพย์ผ่านกองทุนผู้สุงอายุ ร่วมกับ อปท.เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทีกษะแกนนำกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและแกนนำอาสาสมัครชีวะอนามัย
label_important
วิธีการสำคัญ
1.1 อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มแรงงานนอกระบบการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ(JSA)
1.2 การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวะอนามัย(อส.อช.) การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ(๋JSA)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาระบบหรือกลไกเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาโรคจากการประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง
label_important
วิธีการสำคัญ
2.1 การพัฒนาระบบเพื่อนแรงงานช่วยเตือนให้ลดอันตรายจากพฤติกรรมการประกอบอาชีพ
2.2 มีการจัดเก็บข้อมูลด้านสถานการณ์สุขภาพกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง
2.3 การจัดระบบบริการด้านสุขภาพแก่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง เช่น การจัดตั้งคลินิกอาชีวะอนามัย การจัดตั้งคลินิกเกษตร
stars
แนวทางดำเนินงาน : จัดทำข้อตกลง นโยบาย กติกากลุ่มเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
label_important
วิธีการสำคัญ
3.1 การจัดทำกติกา ข้อตกลงร่วมกลุ่มเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
3.2 การผลักดันให้เกิดแผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงเพื่อรับการสนับสนุนเงินดำเนินโครงการจากกองทุนสุขภาพตำบล
3.3 เกิดการผลักดันประเด็นแรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงเป็นธรรมนูญสุขภาพ
stars
แนวทางดำเนินงาน : สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพหรือลดภาวะเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
label_important
วิธีการสำคัญ
4.1 นวตกรรมหรือความรู้ อุปกรณ์ที่ช่วยลดการภาวะเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
4.2 การปรับสภาพแวดล้อมลดอันตรายจากการประกอบอาชีพ
4.3 จัดให้มีกิจกรรมทางกายเพื่อลดภาวะเฉื่อยนิ่งในกลุ่มผู้ประกอบการทอผ้า หรืออื่นๆ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
5.1 จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการปัญหาความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเสี่ยง
5.2 ระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง