กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการช่วยฟื้นคืนชีพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนนำส่งสถานพยาบาลเป็นระบบหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะช่วงก่อนนำส่งโรงพยาบาลเป็น “Golden hour” ของการรักษาพยาบาลที่จะทำให้ผู้ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินรอดชีวิตได้มากที่สุด ภาวะหัวใจหยุดเต้นและ/หรือหยุดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มีความสำคัญ ซึ่งปัจจัยเรื่องเวลามีความสำคัญมากการรักษาที่ล่าช้าจะทำให้โอกาสที่ผู้ป่วยรอดชีวิตและกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติจะลดลงเรื่อยๆ หรือไม่มีเลย ซึ่งความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาหรือรวบรวมได้จากข้อบกพร่องในอดีตมาปรับปรุง ทำให้มีข้อควรปฏิบัติใหม่ออกมาทุก 3 – 5 ปี ผู้ป่วยโดยทั่วไป จะแบ่งการช่วยฟื้นคืนชีพออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การช่วยขั้นพื้นฐาน (basic life support : BLS) และการช่วยชั้นสูง (advance cardiac lifesupport : ACLS) ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย ได้แก่ ระยะเวลาตั้งแต่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น จนถึงเมื่อได้รับการช่วยเหลือ การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน การกระตุกด้วยไฟฟ้า และการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง รวมเรียกขั้นตอนทั้งหมดว่าห่วงโซ่ของการมีชีวิตรอด (chain of survival)
จากการศึกษาในประเทศไทย ยังไม่พบข้อมูลสถิติการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันนอกโรงพยาบาลที่ชัดเจนแต่ประมาณการได้ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากสถิติการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจเฉียบพลันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2558) จากข้อมูลของโรงพยาบาลศิริราช พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ มีการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ โดยเฉลี่ยร้อยละ 61.7 มีโอกาสรอดชีวิตจนออกจาก รพ. เฉลี่ยร้อยละ 6.91 และข้อมูลของ รพ. สงขลานครินทร์ พบอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1-10 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบและความพร้อมของการปฏิบัติการช่วยชีวิต และข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Date Center : HDC)สำนักการสาธารณสุขจังหวัดยะลา ปี 2561 มีเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี จมน้ำทั้งสิ้น 8 คน เสียชีวิต 1 รายคิดเป็น 0.85 ต่อแสนประชากร การได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง มีการส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บอย่างรวดเร็วทำให้มีโอกาสรอดชีวิตและกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้
งานรักษาพยาบาล กลุ่มงานบริการการแพทย์และสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา ได้จัดทำโครงการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีทักษะ ได้รับการฝึกฝนประสบการณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว ปลอดภัย และได้นำความรู้จากการอบรมไปทำการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีได้ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและสูญเสียชีวิตให้น้อยลง ตลอดจนสามารถแนะนำและถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้และศักยภาพของผู้เข้าอบรมในการช่วยเหลือ/ดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ
  1. ร้อยละ 90 ของผู้เข้าอบรม มีความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
0.00
2 2. เพื่อฝึกทักษะและความพร้อมในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพของผู้เข้าอบรมเมื่อเกิดภาวะวิกฤต
  1. ร้อยละ 90 ของผู้เข้าอบรมผ่านทักษะการฝึกภาคปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยการให้ความรู้ และฝึกทักษะการปฏิบัติจริง กลุ่มเป้าหมาย ครูและนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนเทศบาล 2 จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยการให้ความรู้ และฝึกทักษะการปฏิบัติจริง กลุ่มเป้าหมาย ครูและนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนเทศบาล 2 จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ  30.-บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ        เป็นเงิน    6,000.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 80.-บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                        เป็นเงิน    8,000.-บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงชั่วโมงละ 600.-บาท                เป็นเงิน    1,800.-บาท 4.ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 5 คนๆ ละ               2 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท           เป็นเงิน   6,000.-บาท
  4. ค่าวัสดุเครื่องเขียน และอุปกรณ์
                                             เป็นเงิน   3,000.-บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม
                                             เป็นเงิน   1,000.-บาท

รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 25,800.-บาท (เงินสองหมื่นห้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยการให้ความรู้ และฝึกทักษะการปฏิบัติจริง กลุ่มเป้าหมาย ครูและนักเรียนชั้น มัธยมต้น โรงเรียนเทศบาล 5 จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยการให้ความรู้ และฝึกทักษะการปฏิบัติจริง กลุ่มเป้าหมาย ครูและนักเรียนชั้น มัธยมต้น โรงเรียนเทศบาล 5 จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ  30.-บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ        เป็นเงิน    6,000.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆ ละ 80.-บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                         เป็นเงิน    8,000.-บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600.-บาท จำนวน      3 ชั่วโมง                                เป็นเงิน    1,800.-บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 5 คน 2 ชั่วโมง  ชั่วโมงละ 600.-บาท                 เป็นเงิน    6,000.-บาท
  5. ค่าวัสดุและเครื่องเขียน          เป็นเงิน    3,000.-บาท
  6. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม
                                             เป็นเงิน   1,000.-บาท รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 25,800.-บาท (เงินสองหมื่นห้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพที่ถูกต้อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อพบผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือ
3. ผู้เข้าอบรมสามารถให้คำแนะนำ หรือถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับใหม่แก่ผู้อื่นได้ถูกต้อง


>