กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์มณีเวช

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ 2546 ให้ความหมายคำว่าผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป Chuo (1982) พิจารณาความผู้สูงอายุจาก 4 ลักษณะ ดังนี้ 1) พิจารณาจากอายุ 2) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย 3) การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ และ 4) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ให้นิยาม ประเทศใดมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) เมื่อสังคมหรือประเทศมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ และเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) เมื่อสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ
สำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สรุปว่าไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 โดยมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ10.4 ของประชากรทั้งประเทศและคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในช่วงปี 2564 (คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2557) เมื่อเปรียบเทียบประชากรในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ในปี 2558 พบว่า มีประชากรรวมทั้งหมด 630 ล้านคน มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ประมาณ 59 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมด โดยประเทศที่เข้าเกณฑ์เป็นสังคมสูงอายุมี 3 ประเทศ คือ สิงคโปร์ (ร้อยละ 18) ไทย (ร้อยละ 16) และเวียดนาม (ร้อยละ 10) ในปี 2558 ประชากรไทยมีจำนวน 65.1 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 11 ล้านคน หรือคิดเป็น (ร้อยละ 16) ของประชากรทั้งหมด (คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2558)
ปัจจุบันผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครยะลาในปี 2560 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุจำนวน 8,486 คน คิดเป็น ร้อยละ 13.93 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลนครยะลา พบว่า โรคที่มักพบในผู้สูงอายุได้แก่ ข้ออักเสบ/ข้อเสื่อม โรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน และโรคอ้วน นอกจากนี้ผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 มีปัญหาการขึ้นลงบันไดการกลั้นอุจจาระ หรือปัสสาวะไม่ได้ การทรงตัวดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรมีการดูแลส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ เพื่อลดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ให้พึ่งพาตนเองได้ สามารถดำรงชีวิตและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ ซึ่งควรจัดให้มีการพัฒนามาตรฐานและแนวทางการให้บริการผู้สูงอายุให้มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง
มณีเวชเป็นหนึ่งในวิชาการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายคิดค้นขึ้นโดยอาจารย์ประสิทธิ์ มณีจิระปราการ เป็นศาสตร์ที่เน้นการปรับโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในสมดุลเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาตั้งแต่อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อจนถึงโรคต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย โดยมีการศึกษาวิจัย อาทิเช่น เพชรธยา แป้นวงษา (2559) ศึกษาเรื่อง ผลของการปรับสมดุลร่างกายด้วยมณีเวชต่อการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ พบว่า หลังการปรับสมดุลร่างกายด้วยท่ามณีเวชมีระดับการเจ็บปวดกล้ามเนื้อลดลง 2.38 คะแนน ก่อนการปรับสมดุลร่างกายด้วยท่ามณีเวช (หลัง Mean 3.00 ±1.45 ก่อน Mean 5.38±1.73,Adjust mean diff = -2.38, 95%CI =-2.52 t0 -2.24 p

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1…ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ศาสตร์มณีเวช
  • ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ศาสตร์มณีเวชเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
0.00
2 ข้อที่ 2…เพื่อพัฒนางานบริการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
  • ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการจัดอบรม ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์มณีเวช จำนวน 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์มณีเวช จำนวน 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสมนาคุณวิทยากรการอภิปราย จำนวน 5 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                       เป็นเงิน       9,000.-บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่มๆละ 1 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                       เป็นเงิน       9,000.-บาท
  3. ค่าเดินทางวิทยากร ๑ คน (3,500 บาท x 2 เที่ยว x 1 คน)   
                                        เป็นเงิน  7,000  บาท


  4. ค่าเดินทางวิทยากรจากเทศบาลนครหาดใหญ่            อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ถึงเทศบาลนครยะลา อ.เมือง        จ.ยะลา ระยะทาง 135 กม.ๆ ละ 4 บาท จำนวน 2 เที่ยวไป-กลับ    
                                        เป็นเงิน  1,080.- บาท5. ค่าเดินทางวิทยากรจากเทศบาลเมืองปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี ถึงเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา ระยะทาง 42 กม.ๆ ละ 4 บาท จำนวน 2 เที่ยวไป-กลับ                               เป็นเงิน     336.-บาท
  5. ค่าที่พักวิทยากร 1 คน (1,500 บาท x 2 คืน)   
                                         เป็นเงิน        3,000 บาท
  6. ค่าที่พักวิทยากรกลุ่ม 2 คน (1,300 บาท x 2 คืน)                             เป็นเงิน      2,600 บาท
  7. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม 200 คน    (80 บาท x 200 คน x 1 มื้อ x 2 วัน)                                      เป็นเงิน      32,000 บาท
  8. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง 20 คน 
    (80 บาท x 20 คน x 1 มื้อ x 2 วัน)                                      เป็นเงิน   3,200 บาท
  9. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม      200 คน (25 บาท x 200 คน x 2 มื้อ x 2 วัน)
                                         เป็นเงิน      20,000 บาท
  10. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง      20 คน (25 บาท x 20 คน x 2 มื้อ x 2 วัน)
                                         เป็นเงิน   2,000 บาท
  11. ค่ากระเป๋าเอกสารสำหรับผู้เข้าอบรม 200 คน (50 บาท x 200 คน)
                                         เป็นเงิน      10,000 บาท
  12. ค่าจัดทำเอกสารการประชุม (คู่มือตำรามณีเวช) จำนวน 200 ชุด ๆ ละ 100 บาท                                      เป็นเงิน      20,000 บาท

รวมงบประมาณทั้งสิ้นเป็นเงิน 119,216.-บาท (เงินหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นเก้าพันสองร้อยสิบหกบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
119216.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 119,216.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ศาสตร์มณีเวช
2. ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์มณีเวชในการดูแลสุขภาพ
3. เกิดการพัฒนางานบริการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ


>