กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบต.อุใดเจริญ

-

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด อบต.อุใดเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหาร มีความสำคัญและเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กปฐมวัย อาหารช่วยในการพัฒนาร่างกาย การเรียนรู้ สติปัญญาความฉลาด ซึ่งเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสมกับความต้องการ ซึ่งเด็กในวัย 2-5 ปี มีการใช้พลังงานในการประกอบกิจกรรมต่างๆรวมถึงการเล่น และเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับอาหารอย่างเพียงพอ เหมาะสม และมีสุขภาพที่ดี จะต้องได้รับอาหารครบ 5 หมู่ เป็นประจำทุกวัน มีอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อ ได้ดื่มนมจืดวันละ 2-3 แก้ว และต้องฝึกให้เด้กกินผักและผลไม้จนเป็นนิสัย ให้กินอาหารรสธรรมชาติ คือ ไม่หวานจัด มันจัด หรือเค็มจัด อาหารต้องมีความสะอาด ดื่มน้ำสะอาด เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้มีวินัยในการกินอาหาร

ดังนั้น อบต.อุใดเจริญ จึงเห็นควรอย่างยิ่งในการจัดให้มีโครงการเพื่อการเฝ้าระวัง ตรวจสอบคุณภาพของอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เป็นไปตามมาตรฐานโภชนาการ

สำหรับคุณภาพอาหารนั้น ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร ให้คำจัดความไว้ว่า คุณภาพอาหารหมายถึง ลักษณะในด้านต่างๆของอาหารที่มีผลต่อความต้องการของผู้ผลิตหรือผู้บริโภค และสอดคล้องกับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด โดยคุณภาพอาหารจำแนกเป็น

1. คุณภาพทางกายภาพ (physical quality) ขนาด รูปร่าง ตำหนิ ปริมาตร น้ำหนักสุทธิ น้ำหนักเนื้อ

2. คุณภาพทางประสาทสัมผัส (sensory quality) เป็นคุณภาพสามารถรับรู้ได้ด้วยมนุษย์ โดยใช้การประเมินทางประสาทสัมผัส (sensory evaluation) ซึ่งมีผลต่อการยอมรับของผู้บริโภค เช่น ลักษณะปรากฏที่ประเมินด้วยสายตา (appearance) เช่น สี ความสม่ำเสมอของสี และความผิดปกติของสี กลิ่นรส ได้แก่ รสหวาน รสเปรี้ยว รสขม กลิ่นหอม กลิ่นหอม กลิ่นรสที่ผิดปกติ (off-flavor) เช่น กลิ่นไหม้ กลิ่นหมัก กลิ่นหืนเนื้อสัมผัส เช่น ความแข็ง ความเหนียว ความกรอบ

3. คุณค่าทางโภชนาการ (nutrition value) หมายถึง ชนิดและปริมาณของส่วนประกอบทางเคมี ซึ่งมีผลต่อคุณค่าทาง โภชนาการ และการเก็บรักษาปริมาณน้ำ (moisture content) สารอาหารหลักที่ให้พลังงาน ได้แก่ น้ำ คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร ไขมัน และโปรตีน กรดแอมิโนที่จำเป็น และ กรดไขมันที่จำเป็น สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ เกลือแร่ วิตามิน รงควัตถุ และสารให้กลิ่นรส

4. คุณภาพทางจุลินทรีย์ หมายถึง ชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา โคลิฟอร์ม (coliform) จุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) ที่มีอยู่ในอาหาร ซึ่งมีผลต่อการเสื่อมเสีย (microbial spoilage) บ่งชี้ถึงสุขลักษณะของการผลิตอาหารและอาจนำสู่เป็นอันตรายในอาหาร (biological hazard)

5. ความปลอดภัยต่อการบริโภค (safety) หมายถึง อันตรายทางเคมี (chemical hazard) ได้แก่ สารพิษตามธรรมชาติ โลหะหนักวัตถุอันตรายทางการเกษตร สารพิษจาก เชื้อรา (mycotoxin) การปนเปื้อนของจุลินทรียก่อโรค คุณภาพที่ซ่อนเร้น

ดังนั่น องค์การบิหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ตะหนักและเห็นความสำคัญในสุขภาวะของเด็กปฐมวัย จึงได้เสนอโครงการเพื่อการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพของอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดด้านโภชนาการของเด็กปฐมวัย ส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกาย การเรียนรู้ สติปัญญาความฉลาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวัง ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ศพด.ทุกแห่ง ได้รับการตรวจสอบคุณภาพของอาหารผู้ปรุงอาหาร การขนย้ายอาหาร ทุกๆ3 เดือน

0.00
2 เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย

ร้อยละ 100 ของเด็กนักเรียนปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม ตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้ชุดทดสอบ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม ตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้ชุดทดสอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้ชุดทดสอบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.อุใดเจริญ ทุกแห่งมีการเฝ้าระวัง มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารความปลอดภัยของอาหารเป็นประจำตลอดทั้งปี

2.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องสุขาภิบาลและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฎิบัติงาน การปรับพฤติกรรม การเลือกวัตถุดิบในการปรุงอาหารและการประกอบอาหารได้อย่างถูกต้องและถูกหลักอนามัย

3.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการเฝ้าระวัง การตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

4.เด็กก่อนวัยเรียนทุกคน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด อบต.อุใดเจริญ ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.อุใดเจริญ ทุกแห่งมีการเฝ้าระวัง มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารความปลอดภัยของอาหารเป็นประจำตลอดทั้งปี

2.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องสุขาภิบาลและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฎิบัติงาน การปรับพฤติกรรม การเลือกวัตถุดิบในการปรุงอาหารและการประกอบอาหารได้อย่างถูกต้องและถูกหลักอนามัย

3.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการเฝ้าระวัง การตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

4.เด็กก่อนวัยเรียนทุกคน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด อบต.อุใดเจริญ ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย


>