กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาส่งเสริมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการรับสัมผัสสารตะกั่วของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนพื้นที่ หมู่ที่3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
3.
หลักการและเหตุผล

สารตะกั่วเป็นมลพิษในสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงสำหรับมนุษย์ โดยมีผลกระทบต่อทุกระบบของร่ายกาย หากได้รับปริมาณมากในวัยเด็กจะมีผลโดยตรงต่อระดับสติปัญญา สมองและระบบประสาทอย่างถาวรได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยที่มีอายุน้อยกว่า 6 ขวบ ซึ่งนับเป็นช่วงสำคัญที่สุดของชีวิตที่มีการพัฒนาของสมอง(ราชวิทยาลัยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย,2553) สารตะกั่วเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีผลกระทบต่อระบบประสาททั้งประสาทส่วนกลางและรอบส่วนกลาง เกิดภาวะซีด มีผลต่อท่อไต เกิดความดันโลหิตสูง ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติในเพศชายทำให้เชื้ออสุจิลดลง หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับตะกั่วสะสมในร่างกายสูงจะส่งตะกั่วไปยังทารกและทางน้ำนมได้ โดยทั่วไปตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทางหลัก คือ ทางการหายใจและทางปาก สำหรับทางผิวหนังมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ทำงานในปั๊มน้ำมันหรือช่างซ่อมเครื่องยนต์ โดยทั่วไปมนุษย์สามารถรับสัมผัสสารตะกั่ว จาก 2 แหล่งใหญ่ที่สำคัญคือ จากการประกอบอาชีพ และจากสิ่งแวดล้อม(อรพันธ์ : วีระศักดิ์, 2557)เกาะบูโหลน เป็นหมู่เกาะที่อยู่ในกลางท้องทะเลอันดามันห่างจากฝั่งราว 22 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชาวเลมากกว่าร้อยละ 90 มีครัวเรือนราว 50 หลังคาเรือน รวมประชากรประมาณ 200 คน โดยพบว่า มีประชาชนประกอบอาชีพเสี่ยงต่อการรับสัมผัสตะกั่ว คือ ชาวประมงที่เป็นช่างตอกหมันเรือ อู่ต่อเรือและอาชีพมาดอวด จากรายงานวิจัยของคณะวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(2561) พบว่า ผลการศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมและชีวภาพในพื้นที่เกาะบูโหลน พบปัญหาการปนเปื้อนตะกั่วในสิ่งแวดล้อม ในหลายแหล่ง โดยพบปริมาณการปนเปื้อนตะกั่วในพื้นที่บริเวณโรงเรียน(24.2 mg/kg)ในพื้นที่บ้านเรือน (8.95 mg/kg)พื้นที่จอดเรือและทำอวน(7.1 mg/kg)ขณะที่ผลการตรวจวัดปริมาณตะกั่วในแหล่งน้ำอุปโภค(บ่อน้ำ) พบปริมาณ 0.016 mg/L ซึ่งสอดคล้องกันมีการตรวจพบปริมาณตะกั่วในเล็บและมือของชาวประมงที่ซ่อมเรือ(0.25µg/cm2),ชาวประมงที่คลี่อวน(38.15 µg/cm2) และชาวประมงที่ทำอวน(1.32 µg/cm2) มีความเชื่อมโยงกับการตรวจทางชีวภาพซึ่งมีการตรวจพบปริมาณตะกั่วในเลือดของเด็กอายุ 1-3 ปี(6.04µg/dL) อายุ 3-5 ปี(5.69 µg/dL) ขณะเดียวกันได้มีการศึกษาพบปัญหาเด็กปฐมวัยมีภาวะ IQ ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งในทางวิชาการได้มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า การรับสัมผัสตะกั่วในวัยเด็กเล็ก มีความสัมพันธ์ต่อภาวะ IQ ต่ำ จากรายงานทางวิชาการข้อมูลที่ได้ศึกษาถึงผลกระทบของสารตะกั่วในเด็ก ซึ่งจะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ ตะกั่วในเลือดมีความสัมพันธ์กับระดับ IQ อย่างชัดเจน มารดาที่มีระดับตะกั่วสูงสามารถส่งผ่านตะกั่วไปยังทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม ปัจจัยส่งเสริมให้เด็กสามารถได้รับผลกระทบจากตะกั่วได้มากเนื่องจากเด็กดูดซึมตะกั่วจากทางเดินอาหารได้ดีกว่าผู้ใหญ่ คือร้อยละ 50% ในขณะที่ผู้ใหญ่ดูดซึมได้เพียงร้อยละ 10% ของปริมาณที่รับประทาน เด็กมีระบบประสาทที่กำลังพัฒนา การสัมผัสตะกั่วนี้ทำให้การพัฒนาผิดรูปไป ช่วงเวลาที่เด็กมีความอ่อนไหวต่อสารพิษที่กระทบต่อพัฒนาการนั้นเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ไปจนถึงช่วงเข้าสู่วัยรุ่น (Needleman et al., 1990; Bellinger, Stiles & Needleman, 1992;Rogan et al., 2001) ผลกระทบต่อพัฒนาการและระบบประสาทไม่สามารถแก้ไขได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ยาขับตะกั่วให้ระดับในเลือดกลับมาเป็นปกติ การสัมผัสต่อตะกั่วตั้งแต่อายุน้อยๆ มีผลต่อการแสดงออกด้านพันธุกรรม โดยเห็นจากการที่มีการปรับเปลี่ยนของ DNA ใน cordblood ของมารดาที่มีระดับตะกั่วสูง (Basha et al., 2005; Wu et al., 2008; Pilsner et al., 2009) จากสภาพปัญหาการปนเปื้อนตะกั่วจากการประกอบอาชีพลงสู่สิ่งแวดล้อมในสถานที่ต่างๆ จนนำไปสู่การรับสัมผัสสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายทั้งในกลุ่มบุคคลทำงานอาชีพที่เสี่ยงและประชาชนทั่วไป ได้แก่ ชาวประมงที่ประกอบอาชีพช่างตอกหมัน อู่ต่อเรือ อาชีพทำมาดอวน จากรายงานวิจัยการปนเปื้อนฝุ่นตะกั่วในบ้าน พบว่า บ้านช่างตอกหมันเรือมีระดับตะกั่วสูงกว่าบ้านควบคุม(บ้านที่ไม่ใช่บ้านช่างตอกหมันเรือ)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (จำนง และคณะ, 2552 : อรพันธ์ และคณะ,2554)สิ่งสำคัญคนทำงานยังมีโอกาสรับสัมผัสตะกั่วแล้วนำกลับไปปนเปื้อนแก่คนในครอบครัวได้อีก เช่น ภรรยา ลูกของผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงอีกด้วย รวมถึงเด็กเล็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่มีการปนเปื้อนของปริมาณตะกั่วสะสมจำนวนมากก็มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสัมผัสตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้มาก สอดคล้องกับรายงานศึกษาของ อรพันธ์ อันติมานนท์ พบว่า คนงานที่มีการทำงานเกี่ยวข้องกับตะกั่ว จะมีโอกาสที่จะนำตะกั่วกลับไปปนเปื้อนยังที่พักอาศัย โดยการปะปนไปกับเสื้อผ้าหรือผิวหนังของคนงานได้(อรพันธ์ อันติมานนท์,2552) และยังพบเด็กกลุ่มเสี่ยงเป็นลูกหลานของช่างตอกหมันและซ่อมเรือไม้มีระดับตะกั่วในเลือดสูง(สำนักโรคจากการประกอบอาชีพฯ,2556) นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยยืนยันพบว่า โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ยังเป็นแหล่งปนเปื้อนของตะกั่วจากสีทาอาคาร สีจากเครื่องเล่นเด็ก แล้วนำไปสู่การรับสัมผัสสารตะกั่วเข้าสู่เด็กนักเรียนได้ง่ายโดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ที่เล่นกับเครื่องเล่นเด็กหรือมักมีพฤติกรรมเล่นกับพื้นส่งผลให้รับสัมผัสตะกั่วได้ง่าย(ราชวิทยาลัยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย,2553)ซึ่งจากสภาพความเสี่ยงของการรับสัมผัสตะกั่วทั้งหมดข้างต้น ยังคงพบประสบปัญหาอยู่ในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลนโดยยังขาดมาตรการป้องกัน ควบคุม ที่รัดกุมตามที่ควรจะเป็น ทั้งที่สิ่งนี้มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาการรับสัมผัสสารตะกั่วในประชาชนกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวซึ่งเป็นความเสี่ยงและภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งจะต้องอาศัยวิธีการ กระบวนการ หรือกิจกรรมต่างๆเพื่อช่วยยับยั้งหรือลดการสัมผัสสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายให้ได้มากที่สุดภายใต้ข้อจำกัดของชุมชนพื้นที่เกาะที่ค่อนข้างอยู่ห่างไกลจากพื้นที่ชายฝั่ง ดังนั้น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาส่งเสริมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการรับสัมผัสสารตะกั่วในชุมชนของพื้นที่เกาะบูโหลน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมความตระหนักแก่ อสม. แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง รวมถึงผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง สามารถป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสสารตะกั่วจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมจากแหล่งต่างๆ สิ่งสำคัญจำเป็นต้องเน้นวิธีป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุโดยการกำหนดมาตรการหรือวิธีการในการลดปริมาณสารตะกั่วที่จะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อมด้วย

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อจัดทำสถานการณ์สภาพความเสี่ยงและพัฒนาระบบเฝ้าระวังของการรับสัมผัสตะกั่วจากสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน
    ตัวชี้วัด : ได้สถานการณ์สภาพความเสี่ยงและรูปแบบของการเฝ้าระวังการรับสัมผัสตะกั่วในกลุ่มคนทำงานอาชีพเสี่ยง รวมทั้งประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของ อสม.และแกนนำชุมชนในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันการรับสัมผัสตะกั่วไปยังประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกาะบูโหลน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของ แกนนำชุมชน อสม. ที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ เกิดความตระหนักและสามารถร่วมมือกันในการประเมินความเสี่ยง ตรวจคัดกรองสุขภาพตามความเสี่ยงของการรับสัมผัสตะกั่ว ได้
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเสริมสร้างความรู้ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากพิษภัยตะกั่วในประชาชนกลุ่มเสี่ยงของชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลนฯ
    รายละเอียด

    ค่าอาหารกลางวัน 100 บ. x 30 คน x 1 มื้อ x 2 แห่ง = 6,000บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ.x 30 คน x 2 มื้อ x 2 แห่ง = 4,200บาท ค่าวิทยากร 600 x 8 ชม.= 4,800 บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 4 คน x 2 คืน = 6,400 บาท

    งบประมาณ 25,400.00 บาท
  • 2. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม./แกนนำชุมชน ในการคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ ประเมินความเสี่ยงของการรับสัมผัสตะกั่วในชุมชนฯ โดยประยุกต์ใช้แผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน(Popular epidemiology)
    รายละเอียด

    ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 คน x 8 ชม. =9,600 บาท ค่าอาหารกลางวัน 100 บ.x 30 คน x 1 มื้อ x 2 แห่ง = 6,000บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ.x 30 คน x 2 มื้อ x 2 แห่ง= 4,200บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 4 คน x 2 คืน = 6,400 บาท รวม30,200 บาท

    งบประมาณ 24,200.00 บาท
  • 3. อสม./แกนนำชุมชน ร่วมกับ วิทยลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ดำเนินการ implement เชิงรุกในการประเมินความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม คัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพจากการรับสัมผัสตะกั่วฯ
    รายละเอียด

    ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บ.x 6 คน x 3 วัน=4,320 บ. ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บ. ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 6 คน x 2 คืน = 9,600 บ. รวม17,920 บาท

    งบประมาณ 17,920.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 3 ธันวาคม 2562 ถึง 15 พฤษภาคม 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 67,520.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองของการรับสัมผัสสารตะกั่วจากสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อม 2 อสม. แกนนำชุมชน มีแนวทางในการดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการรับสัมผัสตะกั่วในประชาชนกลุ่มเสี่ยงแบบมีส่วนร่วม

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 67,520.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................