กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชมรมเข้มแข็ง ผู้สูงอายุสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอน

1.นายบุญจองทองอิ้ว ประธาน
2. พจต.ประกิตสันธนะรองประธาน
3. นางจินดาเซ่งมาก ปฏิคม
4.นายบุญเยี่ยม ส้มตั้น เหรัญญิก
5.นางอรทัยรักสันติวงศ์เลขานุการ

หมู่ที่1-10 ตำบลท่าบอน/ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คุณภาพชีวิตเปรียบเสมือนเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในทุกเพศ ทุกวัย จากสถานการณ์ของประเทศไทยพบว่าประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ประชากรไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๓พบว่าประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจากจำนวน๖,๖๑๗,๐๐๐คน เพิ่มขึ้นเป็น๗,๖๓๙,๐๐๐คน (คณะคาดการณ์ประชากรไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)นอกจากนี้ในอนาคตจำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งนี้มาจากอายุขัยเฉลี่ยของประชากรประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นโดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยจะเพิ่มเป็น ๗.๖ล้านคนหรือร้อยละ ๑๑.๔ของประชากรทั้งหมดทั้งนี้ประชากรผู้สูงอายุเพศหญิงจะมีจำนวนและร้อยละที่สูงกว่าประชากรสูงอายุเพศชายและแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการแตกต่างไปจากวัยอื่นรวมทั้งปัญหาในด้านสุขภาพที่แตกต่างกันร่างกายมีการถดถอยและเสื่อมลงเป็นผลทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆเบียดเบียนสิ่งสำคัญคือการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและใจผู้สูงอายุในส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกายเช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ อุบัติเหตุโรคข้อเสื่อมความดันโลหิตสูง เบาหวานสมองและหลอดเลือดซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่เรื่องออกกำลังกาย อาหารอารมณ์ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยง่ายการเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีความเศร้าใจกังวลใจน้อยใจเสียใจ และการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุบุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวขาดความยอมรับและความเชื่อถือด้านการพัฒนาสังคม
จากสถานการณ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้จัดทำ โครงการชมรมเข้มแข็งผู้สูงอายุสุขภาพดีเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและส่งรักษาต่อในกรณีพบปัญหาสุขภาพ เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพโดยแบบคัดกรองADL

1 ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพADLร้อยละ 90

0.00
2 2 เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

๑ ชมรมผู้สูงอายุมีการจัดประชุมอย่างน้อย 1 เดือนครั้ง
2 ผู้เข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ร้อยละ5

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 55
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 31/10/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุโดยการใช้แบบคัดกรองADL -แยกกลุ่มผู้อายุจากการคัดกรองเป็น3กลุ่ม มีผู้สูงอายุติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง -ในกลุ่มติดสังคมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพจากคณะกรรมการชมรมผู้สุงอายุในการประชุมผู้สูงอายุแต่ละเดือน -กลุ่มติดบ้านติดเตียง จะมีเจ้าหน้าที่จากรพ.สต.ลงเยี่ยมบ้านอย่างน้อยมีละ1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพADLร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรม/ประชุมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม/ประชุมผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุมผู้สูงอายุ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามการดำเนินงานในชมรมผู้สูงอายุ -จัดอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุจำนวน 4 ครั้งมีดังนี้          เรื่องอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก เรื่องการออกกำลังในผู้สูงอายุ เรื่องสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชมรมผู้สูงอายุมีการจัดประชุมอย่างน้อย 1 เดือนครั้ง
ผู้เข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ร้อยละ5

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,450.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายในรายการข้างต้นสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น


>