กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแม่และเด็ก (แม่ลูกผูกพัน สานฝันฟันดี)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

หมูที่ ๑ – ๑๐ พื้นที่ตำบลท่าบอน /โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์ และเด็กปฐมวัย ปัญหาสุขภาพช่องปากในหญิงมีครรภ์ จากการเป็นโรคปริทันต์จะส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์ และการคลอดของทารกได้ นอกจากนี้แม่ที่มีฟันผุยังส่งผลต่อการเกิดฟันผุในลูกด้วย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้
จากผลการตรวจสภาวะช่องปากของหญิงมีครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 25๖๑ เป็นต้นมา พบว่า หญิงมีครรภ์ที่ได้รับการตรวจฟันมีฟันผุ ถึงร้อยละ 98 และมีปัญหาเหงือกอักเสบและมีหินน้ำลาย จำนวน ร้อยละ 94.82 และจากการสัมภาษณ์หญิงมีครรภ์ส่วนใหญ่ พบว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากละเลยการดูแลเอาใจใส่ในการดูแลทำความสะอาดช่องปาก ขาดทักษะการทำความสะอาดช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ และการไม่ได้รับบริการทางทันตกรรม เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วต้องทำงานหาเลี้ยงชีพไม่มีเวลาดูแลสุขภาพช่องปาก ไม่มีเวลามารับบริการทันตกรรม เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางทันตสุขภาพ และส่งผลต่อลูกได้จากผลการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กอายุ 18 เดือน และ 3 ปี พบว่า ปี 25๖0 เด็ก 18 เดือนมีฟันผุไปแล้วร้อยละ 5 เด็ก 3 ปีมีฟันผุมากถึงร้อยละ 45.6 และล่าสุดปี 25๖๑ ผลจากการสำรวจจาการเด็ก 18 เดือนมีฟันผุไปแล้วร้อยละ 3.3 เด็ก 3 ปีมีฟันผุมากถึงร้อยละ 45.7 และจากสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเด็ก พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่แปรงฟันก่อนนอนให้ลูก เนื่องจากดูดนมเสร็จลูกก็หลับจึงไม่อยากรบกวนการนอนของลูก หรือไม่ก็ทำความสะอาดไม่ถูกวิธี และมีเด็กบางส่วนที่อยู่กับผู้ดูแลไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ จึงไม่ค่อยดูแลสุขภาพช่องปากเท่าที่ควร และยังพบอีกว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ให้ความใส่ใจต่อการเลือกบริโภคอาหารให้กับลูก จะตามใจลูกเป็นส่วนใหญ่ นี้เป็นปัญหาที่พบส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนได้เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแม่และเด็ก (แม่ลูกผูกพันสานฝันฟันดี) ให้แม่และเด็ก๐-๓ ปี มีสภาวะด้านทันตสุขภาพที่ดี คือ ลดภาวะสูญเสียฟันแท้ในช่วงตั้งครรภ์ และเด็ก ๐-๓ ปีมีฟันน้ำนมที่ดีปราศจากรอยโรคในช่องปาก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับความรู้ด้านทันตสุขภาพทั้งของตนเองและบุตร

1 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ด้านทันตสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ90

0.00
2 2 เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และเด็ก ๐-๓ ปี

๑ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ ๒ เด็กอายุ 0-๓ ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ๙๐

0.00
3 3เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับบริการทางทันตกรรมตามความเหมาะสม(อุดฟัน,ขูดหินปูน)

1หญิงตั้งครรภ์ที่ฟันผุและเหงือกอักเสบได้รับบริการตาม ความจำเป็น ร้อยละ100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 31/10/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมความรู้ด้านทันตสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมความรู้ด้านทันตสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ให้ทันตสุขศึกษา สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ - ให้ความรู้เรื่องทันตสุขศึกษาการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3ปีพร้อมสาธิตการแปรงฟันแก่ผู้ปกครอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ด้านทันตสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3990.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจสุขภาพช่องปาก หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ -ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ  0-3ปี
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ เด็กอายุ 0-๓ ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ๙๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเคลือบฟลูออไรด์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเคลือบฟลูออไรด์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-เคลือบฟลูออไรด์วานิชใน9เดือนถึง ๓ปี เชิงรุกโดยลงพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน ทั้ง10หมู่

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6400.00

กิจกรรมที่ 4 ให้บริการทันตกรรมหญิงตั้กิจกรรมงครรภ์ในรพ.สต.

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการทันตกรรมหญิงตั้กิจกรรมงครรภ์ในรพ.สต.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้บริการทันตกรรม(อุดฟัน,ขูดหินปูน,ถอนฟัน)เหมาะสมแก่หญิงตั้งครรภ์ โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข และทันตแพทย์ โรงพยาบาลระโนด ติดตามผล และคืนข้อมูลสรุปผลสภาวะสุขภาพช่องปากประจำปี256๒
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ที่ฟันผุและเหงือกอักเสบได้รับบริการตาม ความจำเป็น ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8280.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,670.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายในรายการข้างต้นสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ลดภาวะสูญเสียฟันแท้ในช่วงตั้งครรภ์ และเด็ก ๐-๓ ปีมีฟันน้ำนมที่ดีปราศจากรอยโรคในช่องปาก


>